Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35060
Title: การศึกษาเพื่อวางแนวทางวางแผนการใช้ที่ดินเขตชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร ด้านฝั่งธนบุรี : พื้นที่กรณีศึกษา เขตภาษีเจริญ
Other Titles: A study for land use planning of the iddle zone of Thonburi, Bangkok Metropolis : a study of Phasi Charoen district
Authors: เพิ่มยศ เจริญวงศ์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พื้นที่ริ้วสีเขียว
ที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ผังเมือง -- ไทย (ภาคเกลาง)
กรุงเทพฯ -- ชานเมือง
ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ภาษีเจริญ (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการของการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตภาษีเจริญ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น 3. เพื่อแสดงแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดิน การกำหนดนโยบาย และเป้าหมายในการพัฒนาและเสนอแนะรูปแบบการใช้ที่ดินในอนาคตของเขตภาษีเจริญ ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้ วิวัฒนาการของการใช้ที่ดินเขตภาษีเจริญเริ่มต้นจากหมู่บ้านสวนริมคลองต่างๆ ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนสองฟากถนน มีการขยายตัวของอาคารตึกแถวพาณิชย์-พักอาศัย และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เกิดขึ้น ปัจจัยที่ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ได้แก่ การปรับปรุงเส้นทางถนน และการเพิ่มประชากร ในช่วงปี พ.ศ. 2522-2527 การใช้ที่ดินพักอาศัยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 58.7% ต่อปี การใช้ที่ดินพาณิชยกรรมมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 22.3% ต่อปี การใช้ที่ดินเกษตรกรรมมีการเปลี่ยนแปลงลดลง 1.69% ต่อปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ได้แก่ การปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคม การเพิ่มประชากร การบริการสังคมดีขึ้น โครงการเคหะชุมชน โครงการและแผนงานป้องกันน้ำท่วม และนโยบายการพัฒนาเมือง ล้วนมีผลกระทบทำให้เขตภาษีเจริญมีบทบาทสำคัญเป็นย่านพักอาศัย รองลงมาเป็นย่านพาณิชยกรรมระดับรองและบริเวณเกษตรกรรม ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นได้แก่ ปัญหาการใช้ที่ดินไม่คุ้มค่าสับสนและขยายตัวในลักษณะสองฟากถนน ซึ่งมีผลกระทบก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องหลายประการ เช่น ปัญหาการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการรักษาความปลอดภัย การบริการสาธารณูปโภคและสภาพแวดล้อมเสื่อมลง แนวทางการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนามีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ตอบสนองความต้องการของชุมชน บทบาทของเขตภาษีเจริญ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 และผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544 การเสนอแนะรูปแบบการใช้ที่ดินในอนาคตของเขตภาษีเจริญใช้เทคนิค Threshold และ Potential Surface Analysis ในรูปแบบหลายศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร
Other Abstract: Objectives of study 1. To study about the evalution of land use and changes of Land use from the past to date in the area of Phasi Charoen District. 2. To study about its problems and the factors which are affected Land use expansion. 3. To propose guide lines in land use planning of the Phasi Charoen District. It will be the policies and goals of development, the guideline plan of Land use of Phasi Charoen District in the future. It is found that (finally of study) : The original settlement of Phasi Charoen District was the agriculture community along the banks of canals, after that they changed their Characteristic to be Ribbon Development along the main roads. Many activities expanded especially commercial buildings and factories. The various factors that affected to the urban growth are population increase and road improve ments in the time between B.E. 2522-2527. Residential land use increasing rate is as high as 58.7% per year ; Commercial land use is 22.3% per year, but Agriculture land use are decreasing with the rate of 1.69% per year. The major problems of Phasi Charoen District are the conflict in land use and expanded in the pattern of Ribbon Development along bothe sides of main roads. Those problems are associated and affected with the other problems; agriculture, slum, security, and environments or pollutions. There are many factors that affected to land use expansion, communication networks development, population increase, social welfare improvement, population housing projects, project of drainage and flood protection and urban development policy. The important roles of Phasi Charoen are recommended to be an urban residential area, the secondary level commercial center and agricultural area. The result of this study is expected to be the guideline of the policy and development planning to prevent and solve the problems of community to support role of Phasi Charoen District according to the Sixth National Economic and Social Development Planning (1987-1992) and Bnagkok Metropolitan Administration Master Plan B.E. 2544. It will be also the guideline of land use on Phasi Charoen urban community, B.E. 2544. Land use pattern in the future resulted from the technique of Threshold and Potential Susface Analysis proposed the land use development of Phasi Charoen District in the form of poly-centric.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35060
ISBN: 9745684619
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Permyos_ch_front.pdf17.2 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch1.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch2.pdf15.7 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch3.pdf88.13 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch4.pdf79 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch5.pdf19.35 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_ch6.pdf49.49 MBAdobe PDFView/Open
Permyos_ch_back.pdf49.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.