Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35271
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยยุทธ สุขศรี | - |
dc.contributor.author | เมธาพันธ์ ชาลีกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-08-14T11:30:22Z | - |
dc.date.available | 2013-08-14T11:30:22Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746351044 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35271 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาแนวทางการจัดการน้ำสำหรับการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดการน้ำที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากกรณีการนำน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองไปใช้ของภาครัฐหรือเอกชนให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับการใช้งานจริงและในแนวทางเดียวกัน การดำเนินงานกรณีศึกษาใช้เกณฑ์พิจารณาการจัดสรรน้ำจากการจัดประเภทและลำดับความสำคัญของผู้ใช้น้ำ โดยคำนึงถึงสิทธิการใช้น้ำซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำเป็นอันดับแรกและผู้ใช้น้ำนอกลุ่มน้ำเป็นอันดับรอง การประเมินปริมาณการใช้น้ำพิจารณาจากข้อมูลจริงจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2536 ระยะเวลา 29 ปี และตั้งสมมุติฐานการใช้น้ำเพิ่มเติม โดยใช้แบบจำลอง HEC-3 ช่วยจำลองสภาพลุ่มน้ำในกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการใช้น้ำเปลี่ยนแปลงไป เพื่อนำผลที่ได้มาสนับสนุนวิธีการในการกำหนดเกณฑ์พิจารณาการจัดสรรน้ำ และนำรูปแบบการจัดการน้ำที่เหมาะสมไปใช้สำหรับการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ ในขั้นตอนการกำหนดเกณฑ์มีการใช้ข้อมูลและข้อจำกัดในการปฏิบัติงานจริงมาเป็นข้อมูลย้อนกลับในการปรับเกณฑ์เพื่อการวางแผนการใช้น้ำในอนาคต จากการศึกษาข้อมูลแผนการใช้น้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าบางส่วนมีความชัดเจนและบางส่วนมีหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าไม่ชัดเจน ประเด็นเหล่านี้ทำให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการกำหนดเกณฑ์การใช้น้ำที่จะใช้ในการจำลองสภาพลุ่มน้ำที่แน่ชัดและเป็นที่ยอมรับได้ เพื่อให้การจัดการลุ่มน้ำในอนาคตมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น กระบวนการการจำลองสภาพจึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนและระเบียบแบบแผนในการกำหนดสมมุติฐานอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการนำแผนงาน ข้อจำกัดของการจัดการและการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำภาคต่างๆ เข้ามากำหนดลำดับความสำคัญและเงื่อนไขการจำลองสภาพ ผลการศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการน้ำและเกณฑ์การพิจารณาการขาดน้ำที่ตั้งสมมุติฐานสรุปได้ว่าลุ่มน้ำแม่กลองมีปริมาณน้ำพอเพียงเพื่อความต้องการภายในลุ่มน้ำ ทั้งเพื่อการอุปโภค บริโภค ชลประทาน ผลักดันน้ำเค็มในลุ่มน้ำ การอุตสาหกรรม รวมถึงการใช้น้ำของโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยด้านชลประทาน สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกได้เต็มศักยภาพของพื้นที่ในฤดูฝน 2.2 ล้านไร่ และในฤดูแล้ง 1.8 ล้านไร่ มีน้ำส่วนหนึ่งเหลือพอที่จะผันไปช่วยลุ่มน้ำท่าจีนผลักดันน้ำเค็มในฤดูแล้งในอัตรา 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่เมื่อจำลองสภาพโดยผันน้ำให้กับผู้ใช้น้ำนอกลุ่มน้ำเช่นผันน้ำไปช่วยลุ่มน้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้งในอัตรา 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และตามที่การประปานครหลวงกำหนดไว้ในแผนในอัตรา 27.1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้ในลุ่มน้ำแม่กลองมีน้ำพอเพียงสำหรับพื้นที่เพาะปลูก 2.0 ล้านไร่ (เทียบเป็นข้าว) ในฤดูฝน และเหลือพื้นที่เพียง 0.83 ล้านไร่ (เทียบเป็นข้าว) ในฤดูแล้ง | |
dc.description.abstractalternative | A study on the processes and procedures for the development planning of the Maeklong river basin is aimed at finding an appropriated framework for water management by considering all utilizations of water from the Maeklong river, either by public or private users, under certain criteria which are in line with actual practices and with consistent procedures. Water allocation criteria are established for various study cases, according to types and priority of water users, to which higher priority is given to the ‘in-catchment/basin’ users. Water demands are established from actual data/information from 1965-1993 (for 29 years) and with additional hypotheses on water uses. A HEC-3 computer program is used to simulate, under different utilization conditions, a water balance within the basin to support an established procedure in setting up water allocation criteria and appropriated water allocation patterns for future development planning of the basin. Reviews on existing plans on water utilization disclose that some are definite and yet some are not clear, particularly on the criteria for quantity estimation. This points out the important and necessity of the proper processes for setting up water allocation criteria to be used in the basin simulation, which should be clear and are acceptable, in order to improve the overall efficiency in managing water resources of the basin. The simulation process needs proper steps and procedures for setting up hypotheses which must take into account plans and constraints of various users in different sectors in establishing priorities and limits. The results of the simulation, under various assumed processes on water management and various hypotheses on shortage criteria, show the there is sufficient water to satisfy the ‘in-catchment/basin’ demands for domestic, irrigation, salinity control and industrial uses as well as the water usage of the proposed Ratchaburi Power Plant. For irrigation purpose, there is sufficient water to supply and irrigable area of about 2.2 million rai in the wet-season and 1.8 million rai in the dry-season; and 45 cams of water could also be diverted for salinity control in the Thachin basin in the dry-season. However, when the ‘out-of-basin’ diversions are increased to 60 cms for the Thanchin and 27.1 cms for domestic water supply according to the Metropolitan Water Works’ future plan, the water availability will be sufficient for irrigate 2.0 million rai (in equivalent of rice) in the wet-season and for only 0.83 million rai (in equivalent of rice) in the dry-season. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาแหล่งน้ำ | |
dc.subject | การจัดการน้ำ | |
dc.subject | การจัดการลุ่มน้ำ | |
dc.subject | การใช้น้ำ | |
dc.subject | ลุ่มน้ำแม่กลอง | |
dc.subject | แม่น้ำแม่กลอง | |
dc.subject | แควใหญ่ | |
dc.subject | แควน้อย | |
dc.title | แนวทางการจัดการน้ำสำหรับการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง | en_US |
dc.title.alternative | Water management framework for development planning of the Maeklong basin | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Metapun_ch_front.pdf | 6.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch1.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch2.pdf | 6.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch3.pdf | 6.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch4.pdf | 5.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch5.pdf | 10.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch6.pdf | 7.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch7.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch8.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_ch9.pdf | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Metapun_ch_back.pdf | 64.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.