Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35272
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับราคาหลักทรัพย์ ในประเทศไทย
Other Titles: The relationship between money suppy and security prices in Thailand
Authors: เมธินี รัศมีวิจิตรไพศาล
Advisors: สุรชัย พัฒนจิตวิไล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ราคาหลักทรัพย์ -- ไทย
ปริมาณเงิน -- ไทย
ตลาดหลักทรัพย์
เงินปันผล -- ไทย
ความเสี่ยง
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผันผวนขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2521 มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้การพัฒนาตลาดหลักทรัพย์เป็นไปอย่างล่าช้า ตามแนวความคิดของนักนิยมเงินตรา (Monetarists) กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ คือ ปริมาณเงิน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง 1. ความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมระหว่างราคาหลักทรัพย์และปริมาณเงินในประเทศไทย 2. เพื่อทดสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บนพื้นฐานของทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ (The efficient markets theory) ในกรณีแรก วิธีการศึกษาอาศัย Ordinary Least Squares (OLS) และข้อมูลรายเดือนระหว่างปี 2522-2527 สำหรับกรณีที่ 2 ใช้วิธีการทดสอบทั้งสหสัมพันธ์ในตัวเอง (Serial Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) ด้วยข้อมูลรายวันของราคาหลักทรัพย์ในปี 2521 และ 2527 ผลการศึกษาพบว่า ไม่ว่าจะใช้ความล่าของเวลา (Time Lags) รวมเข้าไว้ในแบบจำลองหรือไม่ก็ตาม ปริมาณเงินทั้งตามความหมายแคบ (M1) และความหมายกว้าง (M2) ล้วนไม่มีความสัมพันธ์ทางตรงกับราคาหลักทรัพย์ ปริมาณเงินจะมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ทางอ้อมเท่านั้น โดยผ่านตัวแปรที่สำคัญ 3 ตัวแปร คือ อัตราเงินปันผลต่อหุ้น ค่าธรรมเนียมความเสี่ยง และอัตราการเติบโตของเงินปันผล ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 สามารถใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงในราคาหลักทรัพย์ได้ถึงร้อยละ 87.84 สำหรับผลการทดสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ราคาหลักทรัพย์ในอดีตและปัจจุบันมีความสัมพันธ์กัน จึงอาจสรุปได้ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่มีประสิทธิภาพ ตามความหมายของทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ 1. ในด้านการพัฒนาและส่งเสริมธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ให้มีปริมาณมากขึ้นนั้นรัฐบาลควรให้ความสำคัญแก่ ผลกระทบของนโยบายการเงินที่จะมีต่ออัตราดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมความเสี่ยง ซึ่งในที่สุดตัวแปรเหล่านี้จะส่งผลเชื่อมโยงต่อไปยังอัตราเงินปันผลต่อหุ้น อันเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงต่อการเปลี่ยนแปลงไปในราคาหลักทรัพย์ 2. ในด้านการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น รัฐบาลควรตระหนักถึงการปรับปรุงบริการด้านข้อมูลข่าวสารของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะสามารถกระจายข่าวได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึงรวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด
Other Abstract: The wide fluctuation of the security prices such as those occurred in 1978 has significantly affected the public confidence in the operation of the Securities Exchange of Thailand (SET) and further hampered the development effort to stimulate the market. According to the Monetarists, the most influential factor contributed to the changes in security prices is the money supply. The purpose of this thesis is 1. To study the direct and indirect relationship between the security prices and the money supply in Thailand. 2. To analyze the efficiency of the SET based on Fama’s Efficient Markets Theory. For the first case, the estimation method is the Ordinary Least Squares (OLS) and the data are monthly data covering the period 1979-1984. For testing the SET’s efficiency, the thesis utilizes both serial correlation method and the regression analysis based on daily data of security prices of 1978 and 1984. The study results are as follows: 1. No matter whether the time lags are included in the model or not, the money supply both narrow (M1) and broad (M2) definitions have no direct relationship with the security prices. Money supply related to the security prices only indirectly. The indirect link works through the dividend per share, the risk premium and the growth rate of dividend, respectively. These factors explain about 87.84 percent of the changes in security prices. 2. Security prices are serially correlated suggesting that the SET is inefficient in the sense of the Efficient Markets Theory. The study renders the following policy implications: 1. In order to effectively stimulate the SET, the impact of monetary policy on the interest rate or the risk premium must be taken into considerations for such factors can directly affect the dividend per share which will ultimately affect the security prices. 2. If the public confidence is to be improved, the SET must be more efficient. Faster and more comprehensive information of the SET must be provided to all market participants at the minimum cost.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35272
ISBN: 9745673498
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Metinee_ra_front.pdf10.02 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch1.pdf9.78 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch2.pdf24.27 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch3.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch4.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch5.pdf20.33 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_ch6.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open
Metinee_ra_back.pdf22.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.