Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35448
Title: การจัดสรรช่องจอดรถบรรทุกในระบบปฏิบัติการแบบมิลค์รัน
Other Titles: Truck dock allocation in milk-run operation
Authors: ศรีมนตรี ดีวิชา
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manoj.L@Chula.ac.th
Subjects: รถบรรทุก -- ที่จอดรถ
ผลิตภาพ -- ที่จอดรถ
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Trucks -- Parking lots
Productivity -- Parking lots
Mathematical models
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาการจัดตารางรถบรรทุกเข้าช่องจอดรถบรรทุกภายในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาการทำงานจัดรถบรรทุกเข้าสู่จุดจอดรถ รวมถึงการเพิ่มผลิตผลการทำงานในจุดจอดรถ ขั้นตอนการทำงานวิจัย ผู้จัดทำศึกษาระบบการทำงานในปัจจุบันอย่างละเอียด รวมทั้งศึกษาบททฤษฎี และผลงานที่ผ่านมาที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผนการจัดตารางงานรูปแบบต่างๆ รูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการฮิวริสติกส์แบบต่างๆ เพื่อออกแบบสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ตามลักษณะของปัญหาในงานวิจัย ผลการทดสอบงานวิจัย ผู้จัดทำใช้ข้อมูลการวางแผนงานด้วยวิธีการในปัจจุบันย้อนหลัง 3เดือนมาใช้ในการทดสอบและเปรียบเทียบผลกับคำตอบที่ดีที่สุดที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่าการวางแผนด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นให้คำตอบที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการวางแผนด้วยวิธีการในปัจจุบันทั้งในเรื่องของความรวดเร็วในการวางแผน ประสิทธิภาพของการใช้งานจุดจอดรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการวางแผน
Other Abstract: The objective of the study is to create mathematic model for solving the problem of truck dock allocation in factory. Moreover to improve the efficiency and reduce working time of truck dock allocation and especially to increase productivity of work in truck terminal. Step of study, initially writer carefully study working system of schedule planning and solving model of Heuristic method including relative theory and previous researches. This is in order to create mathematic model for solving the problem of truck dock allocation. Result of study, Writer applied collected 3 months data by using the best result and compare with the result which comes from created mathematic model and found that the result by using model is better in time, cost and efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35448
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.651
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srimontri_De.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.