Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35787
Title: การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตามแนวคิดการจัดการความรู้
Other Titles: The development of an educational quality assurance system based on knowledge management concept for Thai higher education institutions
Authors: อรสา ภาววิมล
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ธิดารัตน์ บุญนุช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@chula.ac.th
Thidarat.B@chula.ac.th
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การบริหารองค์ความรู้
Quality assurance
Knowledge management
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed method research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) วิเคราะห์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย 2) วิเคราะห์แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพ 3) พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตามแนวคิดการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา 14 แห่ง ที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองระดับสถาบันอยู่ในระดับดีมาก เก็บรวบรวมข้อมูลระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองร่วมกับการสอบถามผู้บริหารระดับผู้ช่วยอธิการบดีขึ้นไปและหัวหน้าหน่วยงานประกันคุณภาพของสถาบัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์สาระและวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของระบบได้แก่ ปัจจัยนำเข้าคือ ทรัพยากร (ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน งบประมาณ อาคารสถานที่/วัสดุอุปกรณ์/สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้) ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี กระบวนการคือ การควบคุม การตรวจสอบและการประเมินคุณภาพ ผลผลิต คือ คุณภาพของบัณฑิต องค์ความรู้/งานวิจัย/นวัตกรรม การบริการวิชาการและการอนุรักษ์ สืบทอด สร้างและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นเป็นหลักฐานของความสำเร็จ และข้อมูลป้อนกลับ 2) ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนระบบประกันคุณภาพ ได้แก่ นโยบายกลยุทธ์ การบริหารจัดการและเครื่องมือที่ใช้ การศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ 11 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์สาระ ผลการศึกษาพบว่าการจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพที่ดีมี 8 ประการ คือ 1) บทบาทผู้นำ 2) การให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนภารกิจ 3) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาความรู้ 4) การมีวงจรความรู้อย่างน้อย 5 เรื่องได้แก่ ระบุ แสวงหา สร้าง แบ่งปันและประยุกต์ให้ความรู้ 5) เครื่องมือจัดการความรู้ที่เหมาะสม 6) การมีกลยุทธการจัดการความรู้ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์การ 7) มีการวัดผลและติดตามผลการจัดการความรู้และ 8) มีการสร้างแรงจูงใจ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทยตามแนวคิดการจัดการความรู้เป็นการบูรณาการหลักการและกระบวนการจัดการความรู้เข้ากับระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มีหลักการเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ระดับบุคคล ใช้ความรู้ที่มีคุณภาพเป็นพลังขับเคลื่อนการประกันคุณภาพมุ่งสู่คุณภาพอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นบุคคลเรียนรู้และพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการประกันคุณภาพ รวมทั้งสร้างคุณค่าให้กับผู้เรียนและผู้รับบริการ กลยุทธ์ของระบบมุ่งเน้นการออกแบบโครงสร้างความรู้ที่สามารถตอบสนองเป้าหมายของสถาบัน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ ระบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1)ปัจจัยนำเข้าได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ (ผู้นำ ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้และทีมงานจัดการความรู้) วัฒนธรรมองค์การและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) กระบวนการ 3 ระดับ คือ ระดับกลยุทธ์ กลวิธี และปฏิบัติการ รวมถึงการประเมินผลและการสร้างแรงจูงใจ 3) ผลผลิต ได้แก่ บุคคลเรียนรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการปกระกันคุณภาพ 4) ข้อมูลป้อนกลับ ทดลองใช้ระบบในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 3 เดือน ในมาตรฐานด้านการบริการทางวิชาการ ผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการประกันคุณภาพการบริการทางวิชาการสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This study was a mixed method research, composed of qualitative, quantitative and quasi – experimental research (one group pretest - posttest design). This study aimed at analyzing quality assurance system of Thai higher education institutions, analyzing concept and principle of knowledge management in quality assurance and developing an educational quality assurance system based on knowledge management concept for Thai higher education institutions. Sample of the study were 14 Thai higher education institutions that got a highest level (very good) from the second round of the external assessment. Data was collected from quality assessment reports, vice presidents or assistant presidents and chiefs of quality assurance unit of those14 institutions via a questionnaire for good practices in quality assurance. Content analysis and descriptive statistics analysis were used in this study. The findings of good practices in quality assurance system of Thai higher education institutions covered three components 1) input: resources, information and technology 2) process: quality control, quality audit and quality assessment and 3) output: outstanding results of four main missions on higher education 4) feedback. Moreover, all significant factors were addressed policy, strategy, management and effective tools. The concept and principle of knowledge management in quality assurance were summarized from 11 organizationsD good practice knowledge management with the high level of productivity both in Thailand and aboard. The findings showed that there were 8 significant components 1) leadership 2) human capital focused 3) knowledge sharing and learning environments provided 4) five knowledge cycle processes including identify knowledge, knowledge acquisition, knowledge development, knowledge sharing and knowledge application 5) appropriate KM tools 6) KM strategy connected to the organizational goals 7) measurements and 8) recognition and reward. According to the findings of good practices in quality assurance system and productive model of knowledge management, the KMQA System was developed in term of integrating model which have 3 objectives 1) for QA learning people 2) for QA learning organization and 3) for delivering value to the customers based on the main principle of quality learning, beginning at a personal level with the use of that quality or verified knowledge to drive the sustainable quality. The KMQA System strategies focus on how the institutions design their knowledge structure to fit with the institutional goals and to prepare the learning environment. The KMQA System consists of three components 1) input: human resources (leader, knowledge workers and KM team) organizational culture and information technology 2) process: three stages of conducting namely strategic level, tactical level, and operational level including evaluation and motivation 3) output: QA learning people, QA learning organization 4) feedback. The KMQA System was used to enhance the academic service quality of College of Nursing and Health, Suan Sunandha Rajabhat University for three months. The result showed that there was statistically significant difference in increasing participantsD knowledge, attitude, and skill in academic service at 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35787
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.545
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aurasa_pa.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.