Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35929
Title: | ผลของความเข้มข้นของของแข็งต่อการผลิตแก๊สชีวภาพในฟาร์มสุกรที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด |
Other Titles: | Effect of solid content on biogas production of pig farm |
Authors: | ปัณฑิตา บัวจันทร์ |
Advisors: | ขันทอง สุนทราภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | khantong@sc.chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซชีวภาพ สุกร -- การลดปริมาณของเสีย Biogas Swine -- Waste minimization |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือศึกษาผลของการลดปริมาณการใช้น้ำตามหลักการเทคโนโลยีสะอาดต่อสุขภาพของสุกร (น้ำหนักสุกร) และการศึกษาผลของปริมาณของแข็งในมูลสุกรต่อสมรรถนะของถังปฏิกรณ์ร่วม 2 ขั้นตอน งานวิจัยนี้เลี้ยงสุกรขุนที่หย่านมแล้ว ในคอกจำลอง 2 คอก คอกละ 20 ตัว คอกหนึ่งเป็นคอกที่ใช้น้ำตามปกติเรียกว่าคอกควบคุม และอีกคอกหนึ่งมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ วิธีการล้างคอก ตามหลักการเทคโนโลยีสะอาด เรียกว่า คอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาด พบว่าสุกรในคอกควบคุม ใช้น้ำเพื่อเป็นน้ำใช้ และน้ำล้างมากกว่าคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดร้อยละ 17.4 และ 56.2 ตามลำดับ แต่ต้องการน้ำเพื่อใช้เป็นน้ำดื่มน้อยกว่าคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดร้อยละ 32.0 หลังจากการเลี้ยงสุกรจนสามารถจำหน่ายได้เป็นเวลา 105 วัน ได้น้ำหนักสุกรในคอกควบคุมเท่ากับ 92 – 132 กิโลกรัม/ตัว และในคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดเท่ากับ 97 – 136 กิโลกรัม/ตัว น้ำเสียจากคอกควบคุมมีค่าของของแข็งทั้งหมด ค่าของของแข็งระเหยง่าย และค่าของของแข็งแขวนลอยเท่ากับ 11,200 – 15,600, 5,000 – 7,250 และ 7,300 – 8,390 มก./ล. ตามลำดับ น้ำเสียจากคอกที่ใช้หลักการเทคโนโลยีสะอาดมีค่าของของแข็งทั้งสามท่ากับ 22,088 – 31,360, 9,860 – 17,765 และ 12,480 – 18,139 มก./ล. ตามลำดับ อัตราการเกิดแก๊สมีเทนต่อวันจากถังปฏิกรณ์ร่วม 2 ขั้นตอน ที่สภาวะคงที่ในช่วงวันที่ 81 – 90 ของการดำเนินการมีค่าเท่ากับ 3.46±0.04, 2.03±0.01, 1.13±0.02 และ 0.48±0.02 ลิตร/วัน ที่ปริมาณของแข็งทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 5, 2.5, 1 และ 0.5 ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research was divided into 2 parts. The first part was aimed to study the effect of water reduction according to the clean technology principle on pig health (pig weight). The second part was aimed to study the effect of solid contents in the performance of the combined 2-stage reactor. The finishing pigs were fed in 2 separated housings. There were 20 pigs each. The washing procedure in controlled group was as usual. The procedures following the clean technology (CT) guidelines in the other housing was called clean technology (CT) group. It was found that the control group consumed the water for dairy use and for washing higher than the CT group for 17.4 and 56.2%, respectively. However, the water consumption for drinking in the control group is less than the CT group for 32.0%. In feeding for 105 days before sale, the pig weight in the control group was in the range of 92 – 132 kg/head. That in the CT group was in the range of 97 – 136 kg/head. It was found that the total solid, volatile solid and suspended solid in wastewater from the control group were 11,200 – 15,600, 5,000 – 7,250 and 7,300 – 8,390 mg/L, respectively. Those from CT group were 22,340 – 31,360, 9,860 – 17,765 and 12,480 – 18,139 mg/L, respectively. The methane production rates from the combined 2-stage reactor at steady stage during experimental day of 81-90 at total solid contents of 5, 2.5, 1 and 0.5 were 3.46±0.04, 2.03±0.01, 1.13±0.02 and 0.48±0.02, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35929 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.653 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.653 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pantita_bu.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.