Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36040
Title: | กลยุทธ์การให้บริการโลจิสติกส์ของสายเรือ |
Other Titles: | Logistics service strategies of shipping lines |
Authors: | พีรพล อนุมานศิริกุล |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารงานโลจิสติกส์ การขนส่งทางน้ำ Business logistics Shipping |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดให้บริการโลจิสติกส์ของสายเรือกรณีศึกษาเป็นตัวอย่างในการนำเสนอ รวมถึงศึกษากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการเปิดให้บริการโลจิสติกส์ของสายเรือ ใน 3 รูปแบบ คือ กลยุทธ์การลงทุนเปิดให้บริการโลจิสติกส์ด้วยตัวเอง (Insourcing) กลยุทธ์การหาผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอกมาเป็นบริษัทที่ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร (Outsourcing) และกลยุทธ์ผสม (Mix) โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มลูกค้าตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงในการใช้บริการโลจิสติกส์กับทางสายเรือและทำการรวบรวมข้อมูลตัวเลขที่กลุ่มลูกค้าตัวอย่างตั้งใจจะใช้บริการกับทางสายเรือ รวมทั้งเปรียบเทียบราคาที่ได้รับจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในปัจจุบันเพื่อประเมินถึงความเป็นไปได้ในการเปิดให้บริการโลจิสติกส์ของสายเรือกรณีศึกษา ผลจากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าในด้านการขนส่งสายเรือกรณีศึกษาควรจะจ้างผู้ให้บริการจากภายนอกในการให้บริการกับกลุ่มลูกค้าตัวอย่าง ในขณะที่ในด้านคลังสินค้าควรดำเนินการเช่าคลังสินค้ามาดำเนินการแทนเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในด้านการดำเนินพิธีการทางศุลกากรสามารถใช้ได้ทั้ง กลยุทธ์การลงทุนทำด้วยตัวเอง หรือจะใช้กลยุทธ์การจัดจ้างผู้ให้บริการจากภายนอกเพื่อให้บริการกับกลุ่มลูกค้าตัวอย่างได้ |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the feasibility of becoming logistics services provider and potential strategies launched by a container shipping line. These strategies are composed of "Insourcing", "Outsourcing", and "Mix". The questionnaire and interview are conducted from the sampling groups of customers in order to analyze the demand in one stop service provided by the shipping line and congregate the potential demand from the sampling groups of customers who are willing to support with this shipping line. It aims to compare the price quoted by the current logistics providers for feasibility evaluation. The result of the study are as follows: The case study shipping line should use the outsourcing serve the sampling groups of customers. As well as, to insource the warehousing service. In regards to the customs formality, both of insourcing and outsourcing can be applied. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36040 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.55 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.55 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pirapol_an.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.