Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36186
Title: ปัจจัยที่ทำให้เกิดการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาชุมชนวัดธรรมนิมิต เทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Influential factors on residential repairs : a case study of Thamnimit Municipal Community, Samut Songkhram Province
Authors: ลัคนา อนงค์ไชย
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com
Subjects: การฟื้นฟูที่อยู่อาศัย -- ไทย -- สมุทรสงคราม
ชุมชนวัดธรรมนิมิต (สมุทรสงคราม)
Housing rehabilitation -- Thailand -- Samut Songkhram
Thamnimit Municipal Community (Samut Songkhram)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนวัดธรรมนิมิต ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง เทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ทั้งทางด้าน ประวัติศาสตร์และทางด้านสถาปัตยกรรม มีการตั้งถิ่นฐานโดยชาวจีนอพยพมาอยู่อาศัยและจับจองที่ดิน ต่อมาได้แบ่งที่ดินส่วน ใหญ่ให้เช่าเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและถวายที่ดินบางส่วนแก่วัด และวัดก็ได้มีการแบ่งที่ดินให้เช่าเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยอีกต่อ หนึ่ง จากการสำรวจเบื้องต้นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 221 หลังคาเรือน พบว่าเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเช่ามากกว่าที่อยู่อาศัย ที่เป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นชุมชนเช่า และการสำรวจยังพบว่ามีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้คงอยู่ในสภาพที่ดี มีความ สวยงาม ซึ่งชุมชนเช่าส่วนใหญ่มักจะไม่มีการซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัย จึงเป็นที่มาของการศึกษาหาปัจจัยที่ทำให้เกิดการ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ ศึกษาประวัติความเป็นมาลักษณะทางด้านกายภาพของที่อยู่อาศัย ศึกษาลักษณะของผู้อยู่ อาศัย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยการสำรวจและการ สัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 หลังคาเรือน จำแนกตามกรรมสิทธิ์การครอบครองที่อยู่อาศัย จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยมีความแตกต่างตามรูปแบบกรรมสิทธิ์การครอบครอง คือ 1. เจ้าของที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ รูปแบบบ้านจะเป็นเรือนพื้นถิ่นทรงไทย (ร้อยละ50.0) โดยส่วนใหญ่แล้วจะทำการซ่อมแซมทั้งหลัง และทำการต่อเติม (ร้อยละ66.0) สาเหตุการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเริ่มต้นจากภัยธรรมชาติน้ำท่วม ทำให้มีการดีดบ้าน และส่งผลให้ บ้านกลุ่มเครือญาติหลังอื่นดีดบ้านตาม ปัจจัยต่อมาคือสภาพความทรุดโทรมตามอายุ ในการซ่อมแซมแต่ละหลังมีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ช่างเก่าที่มีความชำนาญ แต่เนื่องเป็นผู้มีรายได้ในระดับสูจึงสามารถจ่ายค่าซ่อมแซมจนเพียงพอต่อความต้องการและทำให้ ที่อยู่อาศัยมีสภาพที่ดี มีความสวยงาม ผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จึงทำให้เจ้าของที่รักและหวงแหนที่อยู่อาศัย อยู่แล้ว ยิ่งเห็นความสำคัญของการรักษาเอกลักษณ์ของที่อยู่อาศัยยิ่งขึ้น 2. ผู้เช่าแบ่งการซ่อมแซมออกเป็นสองรูปแบบ คือ 1) เป็น การซ่อมแซมโดยผู้ให้เช่า ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย (ร้อยละ 50.0)แรงจูงใจในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยมาจากการเจริญเติบโตของเมืองและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมือง ผู้ให้เช่าเห็นประโยชน์ว่าสามารถขึ้นค่าเช่าได้ และ เห็นคุณค่าของที่อยู่อาศัยรูปแบบเดิม ปรับปรุงสภาพบ้านเช่าที่ดีขึ้น โดยซ่อมแซมตามรูปแบบเดิม และมีทั้งการต่อเติม(ร้อยละ 33.3) การซ่อมแซมบางส่วน (ร้อยละ33.3)และการปรับปรุง (ร้อยละ 33.3) 2)การซ่อมแซมโดยผู้เช่า ที่อยู่อาศัยเช่าส่วนใหญ่เป็น เรือนไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย(ร้อยละ 55.6) โดยผู้เช่าที่ซ่อมแซมบ้านเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่มานาน เกิดความผูกพันต่อชุมชนและมี ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ทำให้ผู้เช่ามีความรู้สึกมั่นคงในการถือครองที่อยู่อาศัย จนเกิดการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่ อาศัย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความทรุดโทรมของที่อยู่อาศัย การมีช่างที่รู้จักเชื่อถือกันมานาน การมีความสามารถในการจ่าย เพียงพอต่อการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษา คือ 1. ชุมชนวัดธรรมนิมิต สามารถเป็นชุมชนต้นแบบในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย สำหรับชุมชนเช่าอื่นที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่คล้ายกัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ 2.ในการซ่อมแซมอย่างง่าย ควรมีการถ่ายทอดความรู้จากช่างเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถซ่อมแซมที่อยู่อาศัยด้วยตนเองได้ 3. ควรมีการพัฒนาและสืบทอดวิชา ความรู้ความชำนาญของช่างพื้นถิ่นในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในรูปแบบเรือนพื้นถิ่นทรงไทย และ เรือนไม้พื้นถิ่นให้ได้ 4. ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการซ่อมแซม ที่ชัดเจนขึ้น เพื่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปเป็นแรงจูงใจให้ชุมชนเช่าอื่นได้เห็นความสำคัญของการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่มีเอกลักษณ์
Other Abstract: Thamnimit Municipal Community, which is located along the Mae Klong River, Samut Songkhram Provincal Municipality, has a long history, and contains good examples of traditional architecture. It was settled initially by Chinese immigrants. Subsequently the land was sub-divided for large buildings and housing. Some of the land was used for rental accommodation. A preliminary survey of all residents in the study area found that 221 buildings were used for rental accommodation rather than being owner-occupied. Therefore, it can be classed as a rental community. The survey also found that the housing was in good condition, in contrast to most rental communities where building maintenance is not a high priority. This study examines the factors that result in the repair of housing. The objectives were to study the physical characteristics of the housing, to gather social and economic data on the residents, and to analyze the factors contributing to housing maintenance. The data was collected by conducting a survey and through interviews. The building sample consisted of 30 homes under different forms of tenure. The study found that the factors contributing to the repair of housing differed according to the form of property tenure. Many local Thai-style houses were owner-occupied (50.0 percent). The majority of buildings were kept in good repair, and had additions made (66.0 percent). Damage from normal wear-and-tear andflooding was repaired. Resulted in house up lift. One factor was deterioration due to the age of the structure. Each repair is costly and requires a skilled craftsman. However, the income is sufficient to pay for necessary repairs and to make living conditions better. By allowing the owner to love and cherish their dwelling, an aesthetically-pleasing result can be achieved which may help promote eco-tourism. It is important to realise the importance of maintaining housing. For rental accommodation, building maintenance can be grouped into two types: 1) The building is repaired by the lessor. This type of housing accounts for many contemporary wooden vernacular buildings (50.0 percent). The motivation to repair housing comes from the growth of the city and the desire to promote tourism. The landlord benefits because the rent can then be increased. The increased value of traditional houses, restored to their original condition, results in increased rents. The costs include extensions (33.3 percent), maintenance (33.3 percent), and adjustments (33.3 percent), 2) Repair by the lessee. In most rental housing in contemporary wooden vernacular buildings, home repairs were undertaken by tenant groups who had lived there a long time (55.6 percent). This enhanced their relationship with their community and helped maintain a good relationship between the lessee and the lessor. It also made tenants feel more secure in their rented accommodation and improved the quality of housing repairs which were necessary due to normal wear-and-tear. The factors which are important for success are having known and trusted the repairers for a long time, and having the ability to pay enough for housing repairs. Recommendations from the study are: 1. The Community Temple Fair is a community opportunity to spread the skills to repair rental housing among other communities that have similar economic, social, and cultural characteristics. The relevant agencies should facilitate the exchange of skills. 2. Skilled craftsmen should provide residents with the necessary skills to make simple repairs to their own houses. 3. The development and transmission of the knowledge and skills of local craftsmen who can repair local Thai-style houses with wooden floors should be supported 4. Further studies should be undertaken to analyze the factors which initiate repairs. Stakeholders should be able to rent their buildings as an incentive for other communities to recognise the importance of repairing their houses.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36186
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1125
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1125
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lakkana_an.pdf24.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.