Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36194
Title: การออกแบบปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราวกึ่งสำเร็จรูปชั้นเดียว โครงสร้างเหล็กเบารับน้ำหนัก โครงการโรงเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SCG Southern School)
Other Titles: The redesign of temporary one-storey semi-prefabricated school building: case study of SCG Southern School
Authors: กวิศ ปานม่วง
Advisors: ชลธี อิ่มอุดม
ชวลิต นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ichonlat@chula.ac.th
cnitaya@hotmail.com
Subjects: อาคารเรียน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
อาคารสำเร็จรูป
ไทย (ภาคใต้)
School buildings -- Maintenance and repair
Buildings, Prefabricated
Thailand, Southern
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องมาจากเหตุการณ์สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการลอบวางเพลิงสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบการศึกษาและสภาพจิตใจของนักเรียน ทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ก.ร.อ.ม.น.) จึงมีความต้องการที่จะก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน หลังจากเกิดเหุ บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย และบริษัทบลูสโคป ไลสาจท์(ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ร่วมกันออกแบบและก่อสร้างอาคารเรียนต้นแบบขึ้น โดยจากการศึกษาการออกแบบและก่อสร้างอาคารต้นแบบ ผู้วิจัยเชื่อว่าการก่อสร้างอาคารเรียนต้นแบบ ควรได้รับการออกแบบปรับปรุงใหม่ โดยคำนึงถึงระยะทางพิกัดของวัสดุก่อสร้างและการใช้งานอาคารมากขึ้น เลือกใช้วิธีการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูป และเลือกวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้อาคารเรียนปรับปรุงสามารถตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ระยะเวลาในการก่อสร้าง และราคาค่าก่อสร้าง ในการอกแบบ ผู้วิจัยแบ่งอาคารเรียนชั่วคราวออกเป็น 3 ขนาด คือขนาด 25 40 และ 50 คน โดยคำนึงถึง สภาพแวดล้อมโดยรอบ แสงสว่าง การะบายลม และการป้องกันความร้อน ในการออกแบบอาคารและเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น ทั้งแสงสว่าง การระบายลม และการลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร นอกจากนั้นยังคำนึงถึงการประยุกต์ใช้กับการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูปด้วย จากการเปรียบเทียบปริมาณ และจำนวนชิ้นของวัสดุก่อสร้าง พบว่าการใช้ปริมาณวัสดุลดลงจากอาคารต้นแบบมากถึง 25-30% และมีจำนวนชิ้นส่วนของวัสดุลดลงมากเมื่อเทียบการก่อสร้างอาคารต่อ 1 ตารางเมตร หลังจากการเปรียบเทียบปริมาณ และจำนวนชิ้นส่วนวัสดุ ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบระยะเวลาในการก่อสร้างอาคาร โดยพบว่าการก่อสร้างอาคารต้นแบบนั้นใช้เวลาในการก่อสร้างในสถานที่ก่อสร้าง 43 ชั่วโมง และอาคารปรับปรุงขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ใช้เวลาก่อสร้างในสถานที่ก่อสร้างลดลงเหลือเพียง 27% 38% และ 39% ตามลำดับ และในการเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างนั้นเปรียบเทียบจากราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรของอาคารต้นแบบ คือ 12500 บาท/ตรม. และราคาลดลงเป็นสัดส่วนตามการลดลงของปริมาณวัสดุก่อสร้าง จึงสรุปได้ว่า ราคาค่าก่อสร้างอาคารที่ได้รับการออกแบบปรับปรุงลดลงจากอาคารต้นแบบ 25.05% ในอาคารขนาดเล็ก ขนาดกลาง 31.13% และอาคารขนาดใหญ่ลดลง 30.6%
Other Abstract: Due to the situation in the three southern provinces, there are srson attacks on local schools which largely affect education system and students. To counter these problems, the Internal Security Operations Command wants to have a temporary school that can be built within 3 days after an incident. Siam Cement Group and Blue Scope Lysaght Co.,Ltd. (Thailand) jointly designed and built a prototype school building. After study a design of prototype building, researcher beliveves that school building should have redesigned; regarding modular of material and function area, selection of semi-prefabrication construction method and selection of appropriate materials. These improvements should provide better temporary building in many aspects; architectural, construction time and cost. In this study, researcher devides school building into 3 groups; 25, 40 and 50 people. In order to achieve better design, the redesign has to take account of building environment, lighing, air ventilation, heat protection and better selecton of construction materials. Furthemore, application with semi-prefabrication system is also reminded. Compared to the original design, the amount of construction material consumption in redesigned school building was reduced for 25-30% and uses significantly less material per 1 sq.m. construction. Researcher compares construction time between both designs and found that construction time for small, medium and large redesigned building has decrease to 27% , 38% and 39% respectively Zcompare to 43 hr of original design.) Moreover, construction cost of a redesigned building (small, medium and large) has reduced 25.05%, 31.13% and 30.69%
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36194
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1952
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1952
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kawis_pa.pdf12.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.