Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36220
Title: | การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตัน |
Other Titles: | Remediation of wastewater from biodiesel production plant by Electro-Fenton process |
Authors: | ณัฐินี แก้ววิเชียร |
Advisors: | มะลิ หุ่นสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | mali@sc.chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก เชื้อเพลิงไบโอดีเซล เคมีไฟฟ้า Sewage -- Purification Sewage -- Purification -- Heavy metals removal Biodiesel fuels Electrochemistry |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของตัวแปรและภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียจากการผลิต ไบโอดีเซลโดยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตัน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อัตราการป้อนอากาศ (0.5-2.5 ลิตรต่อนาที) ชนิดของขั้วแคโทด (แกรไฟต์ เหล็กกล้าไร้สนิม และไทเทเนียมเคลือบรูทิเนียมออกไซด์) ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน้ำเสีย (2-7) ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (78-233 แอมแปร์ต่อตารางเมตร) และระยะเวลาในการบำบัด (15-180 นาที) พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสีย คือ การใช้แกรไฟต์เป็นขั้วแคโทด ค่าความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน้ำเสียเท่ากับ 4 ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 78 แอมแปร์ต่อตารางเมตร และอัตราการป้อนอากาศ 1.5 ลิตรต่อนาที พบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดค่าซีโอดี บีโอดี และปริมาณน้ำมัน-ไขมันเท่ากับร้อยละ 54.9 63.9 และ 85.9 ตามลำดับ โดยอัตราการลดลงของซีโอดี บีโอดี และน้ำมัน-ไขมันจะดำเนินตามปฏิกิริยาอันดับ 2 ส่วนการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาบำบัดซ้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโตรเฟนตันจะทำให้น้ำมีสมบัติที่ดีขึ้น โดยค่าปริมาณน้ำมัน-ไขมันลดลงจาก 50,725 เหลือ 13.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อน้ำเสียผ่านการบำบัดครั้งที่ 9 ส่วนซีโอดีและบีโอดีมีค่าลดลง แต่ค่าเหล่านี้ยังสูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม |
Other Abstract: | This work was carried out to study the effect of parameters and optimum condition for treating wastewater from biodiesel production plant. The investigated parameters were air flow rate (0.5-2.5 l/min), types of cathode (graphite, stainless steel, Ti/RuO2), operating time (15-180 min), initial pH of wastewater (2-7) and current density (78-233 A/m2). At optimum condition: initial pH of wastewater of 4, current density of 78 A/m2, operating time of 180 min, air flow rate of 1.5 l/min by using graphite electrode, greater than 54.9, 63.9 and 85.9% of COD, BOD and oil&grease were removed, respectively. The reduction rate of COD BOD and oil&grease were the 2nd order reaction. The re-treatment of wastewater by electro-Fenton process can enhance a more reduction of pollutant in treated wastewater. The concentration of oil&grease was reduced from 50,725 to 13.5 mg/l after the 9th times of wastewater treatment. Significant reductions of COD and BOD were also observed, but their concentrations were still higher than the acceptable value for discharging. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36220 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.721 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.721 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nattinee_ka.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.