Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36304
Title: | การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและจำแนกสายพันธุ์ระดับโมเลกุลของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ด้วยเทคนิค Multiplex RT-PCR |
Other Titles: | Development of molecular detection and subtyping of human influenza A viruses based on multiplex RT-PCR assay |
Authors: | วิทยา ภูมิภักดิ์ |
Advisors: | สัญชัย พยุงภร ยง ภู่วรวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sunchai.P@Chula.ac.th Yong.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ไวรัสไข้หวัดใหญ่ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล Influenza viruses Molecular diagnosis |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การติดเชื้อและการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดความตื่นตระหนก และส่งผลกระทบทางด้านสาธารณสุขของประชากรในหลายประเทศทั่วโลก การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อจึงมีความสำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีเทคนิคการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ ในงานวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยและจัดจำแนกสายพันธุ์ระดับโมเลกุลของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ ด้วยเทคนิค Multiplex RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากให้ผลรวดเร็ว แม่นยำ และมีความจำเพาะสูง ในการศึกษาได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบที่ใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ประกอบด้วยการตรวจหายีน GAPDH (491 bp) ยีน HA ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 H1N1 (368 bp), ยีน Matrix ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A (125 bp) และ B (295 bp) ในส่วนของระบบที่ใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยจำแนกสายพันธุ์ ประกอบด้วยการตรวจหายีน HA ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 H1N1 (210 bp) เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสายพันธุ์ H1N1 (362 bp) เชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลสายพันธุ์ H3N2 (183 bp) และเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 (127 bp) ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่า วิธี multiplex RT-PCR ที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะต่อการตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สูงมาก เนื่องจากให้ผลลบต่อเชื้อไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจขนิดอื่น และเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นๆ (H2, H4, H6-H15) โดยมีความสามารถในการตรวจสอบอยู่ในช่วง 10⁴-10 copies/µL ขึ้นกับชนิดของยีนเป้าหมาย นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบผลของวิธี Multiplex RT-PCR โดยใช้ Multiplex real-time RT-PCR เป็นวิธีอ้างอิง พบว่า Multiplex RT-PCR มีค่าความจำเพาะ ค่าความไว และค่าความแม่นยำเท่ากับ 100% 91% และ 95% ตามลำดับ ดังนั้นผลงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า วิธี multiplex RT-PCR เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ทั้งในด้านความจำเพาะ ความไว ความถูกต้องแม่นยำ ราคาไม่แพง สามารถตรวจตัวอย่างได้ทีละปริมาณมากๆ ดังนั้น multiplex RT-PCR จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไปในการวินิจฉัยการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยและจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที |
Other Abstract: | Influenza virus infections have been causing major public health concerns worldwide. Therefore, rapid and accurate diagnostic methods for detection and subtyping of influenza virus are crucial both for patient management and to limit dissemination. In this study, multiplex RT-PCR assays were developed, optimized and evaluated for detection and subtyping of influenza viruses. The detection assay consisted of specific primers for GAPDH (491 bp), HA gene of pandemic H1-2009 (368 bp), matrix gene of influenza A (125 bp) and matrix gene of influenza B (295 bp). The subtyping assay included specific primers for HA gene of each subtype of influenza A virus including pandemic H1-2009 (210 bp), H1-seasonal (362 bp), H3-seasonal (183 bp) and H5-avian (127 bp). The multiplex RT-PCR assay yielded acceptable detection ranged from 10-10⁴ copies/µl depending on each gene and highly specific detection without any cross amplification to other respiratory viruses or other subtypes of influenza A virus (H2, H4, and H6-H15). Moreover, this assay provided 100% specificity, 91% sensitivity and 95% accuracy compared to the real-time RT-PCR assay described previously. In conclusion, this multiplex RT-PCR is acceptable for valuable detection because of its efficiency in terms of rapidity, specificity, sensitivity, accuracy and cost-effectiveness. Therefore, it would be feasible and attractive for large scale detection and subtyping of influenza virus in patients with respiratory diseases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36304 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1134 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1134 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
witthaya_po.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.