Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36307
Title: อุดมการณ์ทางเพศสภาพในพาดหัวข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ไทย : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์
Other Titles: Gender ideology in headlines of criminal news in Thai newspapers: a critical discourse analysis
Authors: เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต
Advisors: วิโรจน์ อรุณมานะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Wirote.A@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์
ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
หนังสือพิมพ์ -- พาดหัวข่าว
Thai language -- Discourse analysis
Thai language -- Usage
Newspapers -- Headlines
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพาดหัวข่าวอาชญากรรมตามแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปภาษาที่ปรากฏในพาดหัวข่าวอาชญากรรมในระดับข้อความและระดับคำตามเพศผู้กระทำและผู้ถูกกระทำและเพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ทางเพศสภาพที่แฝงอยู่ในพาดหัวข่าวอาชญากรรม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ พาดหัวข่าวอาชญากรรมจำนวน 1,815 ข่าวจากหนังสือพิมพ์แนวประชานิยม 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์,ข่าวสดและคมชัดลึกในช่วงปีพ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 ผลการวิจัยมี 3 ส่วนได้แก่ 1) ผลศึกษาระดับข้อความพบว่า พาดหัวข่าวอาชญากรรมมีรูปแบบโครงสร้างพาดหัวข่าวทั้งหมด 13 รูปแบบ รูปแบบโครงสร้างพาดหัวข่าวที่ปรากฏมากที่สุดในการนำเสนอพาดหัวข่าวอาชญากรรมของทุกกลุ่มคือการนำเสนอเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรง รูปแบบโครงสร้างพาดหัวข่าวที่ปรากฏมากเป็นอันดับสองแสดงถึงการเลือกนำเสนอข้อมูลรองในอนุพากย์แรกของพาดหัวข่าวต่างกันตามเพศผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เช่น ในกรณีที่ข่าวผู้ชายกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง หนังสือพิมพ์เลือกนำเสนอข้อมูลกระบวนการตำรวจในรูปแบบโครงสร้าง “กระบวนการตำรวจ+ความรุนแรง” มากเป็นอันดับสองและมีสัดส่วนมากกว่าข่าวกลุ่มอื่นต่างกับข่าวที่ผู้หญิงกระทำความรุนแรงต่อผู้ชาย หนังสือพิมพ์เลือกนำเสนอสาเหตุความรุนแรงในรูปแบบโครงสร้าง “สาเหตุความรุนแรง+ความรุนแรง” มากเป็นอันดับสองและมีสัดส่วนมากกว่าข่าวกลุ่มอื่น, 2) ผลการศึกษาระดับคำพบว่า ในกรณีอ้างถึงผู้ชาย หนังสือพิมพ์เลือกใช้ประเภทของคำแทนบุคคลแตกต่างกันตามสถานะและเพศผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ต่างกับการอ้างถึงผู้หญิงที่หนังสือพิมพ์เลือกใช้คำแทนบุคคลประเภทเดียวกันไม่ว่าจะอยู่ในสถานะผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ และ 3) จากรูปภาษาที่ต่างกันตามเพศผู้กระทำและผู้ถูกกระทำในข้อ 1) และ 2) สะท้อนให้เห็นว่า หนังสือพิมพ์ยังทำหน้าที่ตอกย้ำ ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางเพศสภาพในพาดหัวข่าวอาชญากรรมเช่น การตอกย้ำเรื่องคุณลักษณะพฤติกรรม, บทบาททางเพศ และอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
Other Abstract: The research is a critical discourse analysis of Thai crime news headlines. The purposes of this study are to analyze the linguistic forms in crime news headlines according to agent and victim’ s sex and to study gender ideologies conveyed in crime news headlines. 1,815 crime news headlines were collected from 4 Thai popular newspapers, Thai Rath, Daily News, Khaosod and Komchadluk during 2006 to 2007. The study shows that there are 13 patterns of crime news headlines. The most frequent pattern found in every group is the one presenting only violence actions. The second most frequent pattern is the one presenting secondary information as the first part of the headlines. It varies according to agent and victim’s sex. In the case of men against women violence, “police process + violence action” comes as the second. But, in the case of women against men violence, “reason + violence action” comes as the second. Moreover, newspapers construct men and woman in crime news headlines differently through the forms of representation used to describe them. Men are portrayed in different ways depending on their status (as agents or victims) and their relation to the other participant’s sex while women are repeatedly portrayed by using identification form. It reflects that crime news headlines enact some values of traits on men and women such as the rule of masculinity and femininity and inequality power relation based on gender ideology.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36307
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1108
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1108
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pennapa_kl.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.