Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36350
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสายสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Factors relating to health beahaviors of Chulalongkorn University supporting personnel
Authors: ภคพงศ์ วิเศษสินธุ์
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchitra.Su@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- ข้าราชการและพนักงาน
พฤติกรรมสุขภาพ
สุขบัญญัติแห่งชาติ
Chulalongkorn University -- Officials and employees
Health behavior
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมสุขภาพ และความสามารถในการทำนายพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสายสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 521 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวความคิดสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ และทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .860 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสันและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บุคลากรสายสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพฤติกรรมสุขภาพด้านร่างกายอยู่ในระดับพอใช้ (X-bar = 2.57) พฤติกรรมสุขภาพด้านจิตใจอยู่ในระดับดี (X-bar = 2.40) พฤติกรรมสุขภาพด้านสังคมอยู่ในระดับดี (X-bar = 2.54) และพฤติกรรมสุขภาพด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับดี (X-bar = 2.51) 2. ปัจจัยเสริมด้านการออกกำลังกายของครอบครัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับพฤติกรรมสุขภาพในทุกๆ ด้าน ดังนี้ ด้านร่างกาย (r = .261) ด้านจิตใจ (r = .137) ด้านสังคม (r = .102) ด้านจิตวิญญาณ (r = .205) และในพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้ง 4 ด้าน (r = .230) 3. ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรสายสนับสนุนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ 13.1% (R² = .131) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the relationship among predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors with health behaviors. Data were collected in 521 supporting personnel of Chulalongkorn University, selected by probability sampling. The instrument used in this study was the ten main reasons national health recommendations and health behaviors model. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. They demonstrated acceptable reliability with Cronbrach’s alpha at .860. Data were analyzed for mean, percentile, standard deviation, Pearson product’ moment correlation coefficient and multiple regression analysis. Major results of this study were as follows: 1. Mean scores of total physical health behaviors (X-bar = 2.57) were at a normal level, mean scores of total mental health behaviors (X-bar =2.40), social health behaviors (X-bar = 2.54), spiritual health behaviors (X-bar = 2.51) were at a high level. 2. Reinforcing factors namely family exercise, were significantly related to physical health behaviors (r = .261), mental health behaviors (r = .137), social health behaviors (r = .102), spiritual health behaviors (r = .205) and total health behaviors (r = .230) at .05. 3. Predisposing factors, enabling factors, and reinforcing factors could significantly predict total health behaviors at .05 levels. The predictors all together accounted for 13.1% of the total health behaviors (R² = .131).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36350
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1114
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1114
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pakaphong_wi.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.