Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36468
Title: | การพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก |
Other Titles: | Development of instructional leadership competencies of small-sized school administrators |
Authors: | วรกานต์ อินทรโสภา |
Advisors: | ปิยพงษ์ สุเมตติกุล พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์, 2555 |
Advisor's Email: | ไม่ม่ข้อมูล pruet.s@chula.ac.th |
Subjects: | ภาวะผู้นำทางการศึกษา -- การศึกษาและการสอน โรงเรียน -- การบริหาร Educational leadership -- Study and teaching School management and organization -- Training |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กในปัจจุบัน และที่พึงประสงค์ 2) วิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 3) พัฒนาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 390 โรงเรียน ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือผู้บริหารโรงเรียน ครูปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานบริหารวิชาการ และครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็นใช้ค่าดัชนี PNI[subscript modified] วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่ม โดยใช้การจำแนกข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงทุกด้าน และที่พึงประสงค์อยู่ในระดับสูงทุกด้านเช่นกัน 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กประกอบด้วย 14 สมรรถนะ 35 สมรรถนะย่อย และสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโดยมีค่าดัชนี PNI[subscript modified] สูงกว่าค่าดัชนี PNI[subscript modified] เฉลี่ยของแต่ละด้านมีจำนวน 4 สมรรถนะ 10 สมรรถนะย่อย ดังนี้ (1) การบริหารทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และ (4) การนิเทศและการประเมินผล 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กประกอบด้วย 44 แนวทางการพัฒนาที่มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
Other Abstract: | The purpose of this research were : 1) to study present situation and desirable instructional leadership competencies of small-sized school administrators. 2) to analyze and rearrange instructional leadership competencies of small-sized school administrators follow needs. 3) to develop quidelines to development instructional leadership competencies of small-sized school administrators. 390 small-sized school under the Office of the Basic Education Commission were included in the study using a Multi-Stage Stratified Random Sampling. A total of 1,170 informants composed of school administrators, head of academic departments and teachers from each basic education schools. Research instruments used in the study were questionnairs and semi-structured interview. Collected data was analyzed using descriptive statistics frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNI[subscript modified]). Qualitative analysis by focus group using of classified information, comparison of data and the inductive conclusion were also used. The research found : 1) instructional leadership competencies of small-sized school administrators for both present and desirable situations was high in general. 2) instructional leadership competencies of small-sized school administrators comprised of 14 competencies and 35 sub-competencies with high need on 4 competencies and 10 sub-competencies (1) resource administration for instruction (2) development curriculum (3) research for develop learning quality (4) supervision and assessment 3) guidelines to develop instructional leadership competencies of small-sized school administrators comprised of 44 guidelines to development were found appropriate and possible for implementation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36468 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.60 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.60 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
warakan_in.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.