Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36504
Title: | ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจในสถานการณ์พิเศษ |
Other Titles: | Problems on law enforcing of the police officials in an unusual situation |
Authors: | ธนพล ลิมปิยนันท์ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Viraphong.B@Chula.ac.th |
Subjects: | วิสามัญฆาตกรรม ตำรวจ ทหาร การบังคับใช้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 Police shootings Police Soldiers Law enforcement Criminal justice, Administration of |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจในสถานการณ์ พิเศษในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายต่างประเทศ ในเรื่องขอบเขตการใช้กำลังในการจัดการสถานการณ์พิเศษของประเทศสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เพื่อวิเคราะห์บทบัญญัติแห่งกฎหมาย การให้อำนาจในการใช้กำลังบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษเจ้าพนักงานตำรวจที่ใช้กำลังโดย มิชอบ ทั้งนี้ คำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้กำลังบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขสถานการณ์พิเศษ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีขอบเขตที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้วย จากการศึกษาพบว่า ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจในสถานการณ์พิเศษ คือ ขาดหลักการใช้กำลังที่เหมาะสม ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อีกทั้งการจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้กำลังที่ชัดเจนไว้ แม้ว่าประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เรื่องการจับ จะมีแนวทางที่ชัดแจ้ง แต่ไม่มีสภาพบังคับใช้ตามกฎหมาย จึงทำให้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการใช้กำลังบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษ หากเจ้าพนักงานตำรวจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กำลังถึงตาย เพื่อยุติความร้ายแรงของสถานการณ์ดังกล่าว มีแต่การปรับบทกฎหมายเรื่องการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ซึ่งส่งผลให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ใช้กำลังถึงตายนั้นต้องถูกฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายก่อนแล้วจึงพ้นผิดในภายหลัง และทำให้ เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้รับผลร้ายตามมาจากการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 กล่าวคือ เสียสิทธิในการได้รับความดีความชอบในปีนั้น ถูกตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่งผลให้เจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถใช้กำลังเข้ายุติเหตุร้ายแรงนั้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีกฎการใช้กำลัง และหลักการใช้กำลังถึงตายที่บัญญัติเป็นกฎหมายในทุกมลรัฐ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การลงโทษ เป็นรายละเอียดแยกต่างจากหลักการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและวิญญูชนทั่วไป ผลที่ได้จากการศึกษา คือ ประเทศไทยควรมีหลักการใช้กำลังหรือกฎการปะทะ และมีบทบัญญัติทางกฎหมายในการใช้กำลังถึงตาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจและทหารได้ใช้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์พิเศษโดยเทียบแนวทางการดำเนินการต่างๆ และบทบัญญัติกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและ ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่พิเศษ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของ เจ้าพนักงานและประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า ทฤษฎีว่าด้วยสถานการณ์ยกเว้นอย่างยิ่งของประเทศฝรั่งเศสสามารถนำมาบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อยกเว้นขั้นตอนทางปกครองบางอย่าง เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์พิเศษมีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย |
Other Abstract: | This thesis aim to study the legal problems of law enforcement by police officers in special situations in Thailand by comparing the relevant Domestic Laws of The United States of America (U.S.A.) and France on rules of engagement in domestic special situations to analyzed the law empowering the rule of engagement and the punishment for officers who fail to comply, therefore, by considering the quality outcome of solving the special situations by this method as well as to protect the rights of the people. The study show that Thailand’s problems on physical engagement by police officers in special situations is that it’s lack of the suitable rules of engagement, The Criminal Procedure Code Art.83 did not lay down a clear procedure on the rules of engagement, and even though The rules of Procedure of the police on the arrest do have a clear guideline but is not law and therefore not enforceable. In a situation that an police officer were necessity to engage till cause death to the opponent in order to stop the ciaos , there was only The Criminal Procedure Code Art.68 about the lawful defense which mean the police officers have to go through a interrogation committee and a trail in court in order to determine if his act is legal can not, which will cause him a delay in his career path and hesitation to engage in the next special situations. Unlike the Domestic Laws of The United States of America (U.S.A.) which lay down the rule of engagement and procedure on use of deadly force in special situation in every state law by separating it from the normal procedure of lawful defense. The procedure on the use of force till death of the opponent in special situation. Therefore Thailand should have a clear law on rule of engagement and procedure on use of deadly force as a legal tool for the police officer to become engage in special situation by considering the U.S.A. law as a model law in order to protect the life of both police officers and the people. The theory of the very special situation in French law could also be use to exempt some administrative procedure in order to response to the situation better and faster. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36504 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1507 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1507 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanapon_li.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.