Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36568
Title: เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย
Other Titles: The Political economy of Thai country-music production
Authors: สาทร ศรีเกตุ
Advisors: สุชาย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Suchai.T@Chula.ac.th
Subjects: เพลงลูกทุ่ง
ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง
เศรษฐศาสตร์การเมือง
ทุนนิยม
Country music -- Thailand
Political economics
Capitalism
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย ประเด็นหลักในการศึกษามีดังนี้คือ ประการแรก ศึกษาว่าการผลิตเพลงลูกทุ่งไทย ต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรบ้าง มีกรรมวิธีขั้นตอนการผลิตอย่างไร และใครคือผู้สร้างมูลค่า ประการที่สอง ศึกษาว่าโครงสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลฝ่ายต่างๆ ในกระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทยเป็นไปในลักษณะใด มีการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์กันอย่างไร ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นหรือไม่อย่างไรบ้าง และประการสุดท้ายศึกษาว่าภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิตดังกล่าวนั้น ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอันนำไปสู่การต่อสู้ต่อรองเพื่อความอยู่รอดของแต่ละฝ่ายขึ้นหรือไม่อย่างไรบ้าง ตลอดจนศึกษาบทบาทรัฐและประชาชนผู้ฟังเพลงต่อการจัดการความขัดแย้ง การต่อสู้และความอยู่รอดดังกล่าวด้วย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิตเพลงลูกทุ่งไทยนั้น แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการคือ กระบวนการผลิตสินค้าเพลง เช่น เทป ซีดี ฯลฯ กับกระบวนการแสดงสด ทั้งสองกระบวนการต้องอาศัยปัจจัยการผลิตหลายอย่างโดยมีศิลปินเพลงเป็นผู้สร้างมูลค่าผ่านผลงานเพลง การเข้ามาของระบบทุนนิยมก่อให้เกิดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เอื้อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอย่างยิ่ง ศิลปินเพลงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากขาดเงินทุนเพื่อเข้าถึงปัจจัยการผลิต เมื่อเข้าไม่ถึงหรือไม่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเองศิลปินเพลงจึงจำเป็นต้องเข้าไปเป็นลูกจ้างผลิตเพลงให้กับนายทุน ความเสียเปรียบเกิดขึ้นทั้งในเรื่องอิสระในการทำงาน และเรื่องผลประโยชน์ภายใต้โครงสร้างเช่นนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นบ่อยครั้ง ศิลปินเพลงได้พยายามต่อสู้ในหลายลักษณะ เช่น พูดผ่านสื่อ วิจารณ์ผ่านบทเพลง รวมตัวกันเป็นสมาคม เป็นต้น ในการนี้มีการดึงอำนาจรัฐและฐานประชาชนมาเป็นแหล่งอ้างอิงเพื่อการต่อสู้นั้น แต่ด้วยอำนาจของฝ่ายทุนที่มากกว่าจึงเข้าถึงอำนาจรัฐและประชาชนได้มากกว่า ศิลปินเพลงลูกทุ่งบางส่วนสามารถต่อสู้และอยู่รอดในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ยังตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองดังกล่าว
Other Abstract: To analyzes the processes of production of Thai country-music network by using Marxist political economy framework as a guideline. The study comprises three themes: first, to study into the production process itself, second, to study the structure of relations of the proceses,and third, to study conflicts and struggles in the above relations of production in order to access and benefits at the expenses of whom. The finding of the study is that the production process was divided into two categories; music productions and music live performances. In both categories of music-artists; i.e., singers, composers, and musicians were important as well as immediate value-creators. Nowadays country-music productions were almost subsummed or integrated by capitalist relations of production. This structure of relations advantaged capitalists, who owned or were in power to control means and conditions of music production and were capable of appropriating much benefit and social power from the music-artists as the real immediate value creators. And in such the relations of production there existed conflicts and struggles continuously. The music-artists had been struggling in various ways such as making criticism agianst capitalist music industries via mass media or attemting to gather into association, ect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36568
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.159
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.159
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sathorn_sr.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.