Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37221
Title: ผลของการฝึกโปรแกรมการเคลื่อนที่ทางกีฬาบาสเกตบอล ที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถภาพแอนแอโรบิกของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน
Other Titles: Effects of movement program in basketball training on agility and anaerobic performance in young female basketball players
Authors: กันตพิชญ์ สมคง
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaipat.L@Chula.ac.th
Subjects: นักบาสเกตบอลหญิง
สมรรถภาพทางกาย
ความสามารถทางกลไก
Women basketball players
Physical fitness
Motor ability
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมการเคลื่อนที่ทางกีฬาบาสเกตบอลที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว และสมรรถภาพแอนแอโรบิกของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักกีฬาบาสเกตบอลหญิง อายุระหว่าง 16-18 ปี จำนวน 24 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนั้นทดสอบก่อนการทดลอง โดยทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สมรรถภาพแอนแอโรบิก และความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ เพื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยจัดเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับคู่เข้ากลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างฝึกตามปกติ (12 คน) กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างฝึกโปรแกรมการเคลื่อนที่กีฬาบาสเกตบอล (12 คน) ควบคู่กับการฝึกตามปกติ โดยฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ และทดสอบหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว สมรรถภาพแอนแอโรบิกด้านความสามารถสูงสุดแบบแอนแอโรบิก พลังแบบแอนแอโรบิก และดัชนีความล้า ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ไม่มีความแตกต่างแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการเคลื่อนที่ทางกีฬาบาสเกตบอล สามารถพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวและสมรรถภาพแอนแอโรบิกในนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน
Other Abstract: To study the effect of movement program in basketball training on agility and anaerobic performance in young female basketball players. 24 young female basketball players were purposively sampled to be the subjects of this research. The subjects performed pretest for agility, anaerobic performance and cardiorespiratory endurance in order to divide the subjects into two groups by using matching method, i.e., a control group which performed a regular basketball training (n = 12) and an experimental group which performed a movement program in basketball training combined with regular basketball training (n = 12). The experimental group was trained 3 days a week (Monday, Wednesday, and Friday) for 8 weeks. The post test was performed after training 8 weeks for both groups. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, and t-test was used to determine if means are statistically different at the significance level of 0.05. Research results indicated that after 8 weeks, agility and anaerobic performance, i.e., anaerobic capacity, anaerobic power and fatigue index in the experimental group were significantly better than those of the control group at the 0.05 level. However, cardiorespiratory endurance was not significantly different between two groups. In summary, the movement training program in basketball helps improve basketball players’ agility and anaerobic performance in young female basketball players.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37221
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.772
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.772
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kuntapit_sa.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.