Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37382
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของการลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอที่มีน้ำหนักเกินและโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
Other Titles: The beneficial effects of weight reduction in overweight patients with chronic proteinuric immunoglobulin A nephropathy
Authors: ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Talerngsak.K@Chula.ac.th
Subjects: ไตอักเสบ
โรคอ้วน
การควบคุมน้ำหนัก
โปรตีนในปัสสาวะ
Glomerulonephritis
Obesity
Weight control
Proteinuria
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ผู้ป่วยโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอที่มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัมต่อวัน มีการพยากรณ์โรคทางไตที่ไม่ดีพบว่า สามารถชะลอการดำเนินโรคไปสู่ไตวายเรื้อรัง โดยการลดปริมาณโปรตีนที่รั่วในปัสสาวะ การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการลดน้ำหนัก ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอที่มีน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก./ตร.ม. ขึ้นไป) ร่วมกับมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 เดือนขึ้นไป วิธีการศึกษา: สุ่มคัดเลือกผู้ป่วยโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยการเจาะชิ้นเนื้อไตที่มีน้ำหนักเกิน และโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 0.5-3 กรัมต่อวัน จำนวน 26 ราย ให้ควบคุมน้ำหนักโดยการจำกัดปริมาณพลังงานในอาหารที่ได้รับต่อวัน (กลุ่มทดสอบ) และกลุ่มที่ให้รับประทานอาหารได้ตามปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มละ 13 รายเท่ากัน โดยที่ทั้งสองกลุ่มได้รับปริมาณโปรตีนในอาหารเท่ากันร่วมกับบริหารยา angiotensin converting enzyme inhibitor หรือ angiotensin receptor blocker ในขนาดสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถทนได้ และยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นเพื่อควบคุมให้ระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 130/85 มม. ปรอท เก็บข้อมูลพื้นฐานต่างๆ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งก่อนและหลังการศึกษา 6 เดือน ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐาน และค่าการทำงานของไตเมื่อเริ่มการศึกษา หลังการควบคุมอาหารเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มสามารถดำเนินการได้ตามแผนการรักษาที่กำหนดไว้ คือมีน้ำหนักลดลงมากกว่า 5% จำนวน 6 ราย (23.07%) ความดันซิสโตลิกน้อยกว่า 130 มม. ปรอท 24 รายและความดันได-แอสโตลิกน้อยกว่า 85 มม. ปรอท 23 ราย ปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวันในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการจำกัดปริมาณอาหาร มีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) น้ำหนักตัวและปริมาณโปรตีนในปัสสาวะมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่มีการจำกัดอาหาร (p<0.001) โดยกลุ่มทดสอบมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะลดลง 45.03% เทียบกับกลุ่มควบคุมโดยไม่มีความแตกต่างของปริมาณโปรตีนในอาหารที่รับประทานต่อวันระหว่าง 2 กลุ่ม (p=0.46) หลังสิ้นสุดการศึกษา 6 เดือน ระดับความดันโลหิตและการทำงานของไตไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากตอนเริ่มการศึกษา เมื่อวิเคระห์เชิงลึกพบว่ากลุ่มทดสอบที่มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 5% ของน้ำหนักตั้งต้นพบว่ามีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะลดลง 45.21% ระดับเลปตินในเลือดมีค่าลดลงและระดับอะดิโปเนคตินมีค่าเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02 และ p=0.03 ตามลำดับ) สรุป: การลดน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอที่มีน้ำหนักเกิน และโปรตีนรั่วในปัสสาวะเป็นระยะเวลา 6 เดือน มีผลทำให้ปริมาณโปรตีนที่รั่วในปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่ขึ้นกับปัจจัยอื่น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับไซโตอะดิโปไคน์ในเลือด ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลต่อการทำงานของไตในระยะยาวต่อไป
Other Abstract: Background: Patients with immunoglobulin A nephropathy (IgAN) who have persistent proteinuria more than 1 g/day have poor renal outcome. Reducing the amount of proteinuria could retard renal progression. This study was conducted to examine the effects of weight reduction on proteinuria in overweight IgAN patients (body mass index, BMI>23 kg/m²) with chronic proteinuria more than 6 months. Methods: Twenty six overweight patients with chronic proteinuric biopsy-proven IgAN were randomized into 2 groups: 1) control- usual dietary intake (n=13) and 2) low-calorie normal protein diet (n=13). All of the patients were treated with the maximal doses of angiotensin converting enzyme inhibitor or angiotensin receptor blocker and other antihypertensive agents to achieve blood pressure of less than 130/85 mmHg. At baseline and 6 months after dietary treatment, clinical and laboratory parameters were determined and compared. (clinicaltrial.gov NCT01773382). Results: There were no significant differences in baseline demographic data including age, blood pressure, BMI, renal function, 24-hour urine protein, normalized protein nitrogen appearance (nPNA), and cytokines. After 6-month dietary treatment, nPNA values were not different (p=0.46), indicating comparable protein intake. Total daily calory intake were significantly lower in the low-calorie normal protein diet group (p<0.01). There were significant reductions in body weight (p<0.001) and 24-hour urine protein (p<0.001) in the low-calorie normal protein diet group. Blood pressure and renal function parameters were not different. In the low-calorie normal protein group, patients with weight reduction of more than 5% had significantly lower plasma levels of leptin (p=0.02) but higher adiponectin (p=0.03). Conclusions: Six-month weight reduction is independently associated with significantly decreased proteinuria in overweight patients with chronic proteinuric IgAN. This effect may be partly mediated by changes in adipokines. Further studies are required to examine the long term effect of weight reduction on renal function.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37382
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1074
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1074
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyawan_ki.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.