Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37387
Title: | การใช้การทดลองแบบอนุกรมเวลาเพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Using time series experiment to investigate the effects of using team game tournament technique to develop science learning achievement and social skills of fourth grade students |
Authors: | สำเนียง จุลเสริม |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.T@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- วิทยาศาสตร์ ทักษะทางสังคม Science -- Study and teaching Academic achievement -- Science Social skills |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะทางสังคมของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมกับนักเรียนที่เรียนด้วยการ เรียนแบบปกติ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และทักษะทาง สังคมของนักเรียนที่เรียนด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมกับนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียน แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 5 ฉบับ ซึ่งมีลักษณะเป็นคู่ขนานกัน มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.856 – 0.892 และแบบ วัดทักษะทางสังคม มีทั้งหมด 5 ฉบับ ซึ่งมีลักษณะเป็นคู่ขนานกัน มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.943 – 0.951 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA) และใช้สถิติทดสอบ ทีชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (independent sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมมีพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพัฒนาการทักษะทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยแบบปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้น 46.389 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มควบคุมมีพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น 28.229 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น 21.991 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มควบคุมมี พัฒนาการทักษะทางสังคมลดลง 3.841 |
Other Abstract: | The paper included two objectives; 1) to compare the science learning achievement and social skills between two groups; the students who were taught by team game tournament technique and students who were taught in normal class, and 2) compare the development of science learning achievement and social skills between the students who were taught by team game tournament technique and students who were taught in normal class. The sample included the 4th grade students. The instrument used was learning management plan by which team game tournament technique was applied. The instrument used to gather data included five sciences achievement inventory which have been characterized in parallel with the validity ranged between 0.856 – 0.892. Similarly, five social skill inventory in parallel with the validity, ranged between 0.943 – 0.951 were used. For data analysis, the repeated measure ANOVA and the independent sample t-test were employed. The results showed as follows; 1. The students, in experimental group, who were taught by team game tournament technique, gained higher sciences achievement and social skills than the students in controlled group who were taught in normal class at statistically significant level .05. 2. The students who were taught by team game tournament technique gained higher sciences achievement and social skills than the students who were taught in normal class at statistically significant level .05. The students in experiment group gained higher sciences achievement by 28.229, and social skills by 21.991, whereas the students in control group had the social skill development |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37387 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.783 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.783 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
samniang_ch.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.