Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37405
Title: แนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทย พ.ศ. 2435-2487
Other Titles: Concept and knowledge of pests in Thai society 1892-1944
Authors: ทิวาพร ใจก้อน
Advisors: ธนาพล ลิ่มอภิชาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Thanapol.L@Chula.ac.th
Subjects: ศัตรูพืช -- แง่สังคม -- ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพืช
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์
Agricultural pests -- Social aspects -- Thailand
Human-plant relationships
Human-animal relationships
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทย พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2487 โดยเน้นศึกษาความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทย ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทยก่อน พ.ศ. 2435 มีความสัมพันธ์กับความคิดความเชื่อในทางพุทธศาสนา และความคิดความเชื่อดั้งเดิมตลอดจนบริบททางสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ปัญหาศัตรูพืชไม่มีความสำคัญมากนัก ในช่วงหลัง พ.ศ. 2435 บริบททางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมทั้งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ทำให้มุมมองของคนในสังคมที่มีต่อศัตรูพืชเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาศัตรูพืชจึงมีความสำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มข้าราชการและปัญญาชนชั้นนำในกระทรวงเกษตร คนกลุ่มนี้นอกจากจะมีบทบาทในการทำให้ปัญหาศัตรูพืชมีความสำคัญมากขึ้นแล้ว ยังได้นำเอาแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชสมัยใหม่แบบตะวันตก ที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมากเข้ามาใช้ และเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนอีกด้วย ส่งผลให้แนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชหลัง พ.ศ. 2435 แตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือ มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชสมัยใหม่แบบตะวันตกกับแบบดั้งเดิมในสังคมไทย ซึ่งในท้ายที่สุดก็ได้ทำให้วิธีจัดการปัญหาศัตรูพืชในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังทำให้กลุ่มทุนธุรกิจการค้าเคมีภัณฑ์และเครื่องมือทางการเกษตรสมัยใหม่ ที่เกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชถือกำเนิดขึ้นในสังคมไทยอีกด้วย
Other Abstract: This research examines changes in the concept and knowledge of pests in Thai society from 1892 to 1944, focusing on the transformation of such thinking and its social effects. The study finds that, before 1892, the concept and knowledge of pests in Thai society had been explained by Buddhist thoughts and traditional beliefs. Owing to the social context in that period, the problem of pests was regarded as unimportant. However, since the year 1892, the social context in terms of economy, politics, natural environment and ecological system has greatly changed. This led to the transformation in people’s point of view towards pests. The concern on pest problems then intensified, especially, among leading officers and intellectuals in the Ministry of Agriculture. This group of elites played an important role in making the problem of pests significant. They adopted, applied and propagated to the public the modern concept and knowledge of pests from the West, which was much related to scientific knowledge. This resulted in the amalgamation of modern and traditional thoughts that altered the concept and knowledge of pests in Thai society since. It eventually led to the change in management of pest problems in Thailand, including the initiation of domestic agribusiness corporations specializing on chemicals and pest control products.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37405
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1088
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1088
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thiwaporn_ja.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.