Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37415
Title: การวางแผนการผลิต และจัดส่งสำหรับโรงงานผลิตกระดาษ
Other Titles: Production and shipment planning for paper manufacturing factory
Authors: ศิริวรรณ เหมือนแก้ว
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.Pua@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมความสูญเปล่า
อุตสาหกรรมกระดาษ
การวางแผนการผลิต
Loss control
Paper industry
Production planning
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ลดปริมาณเศษตัดริมของม้วนกระดาษวัตถุดิบนำเข้า และ (2) ลดความสูญเปล่าในกระบวนการดำเนินงานภายในธุรกิจผลิตกระดาษ การศึกษาได้ดำเนินการโดย (1) ศึกษารูปแบบการตัดม้วนกระดาษ ซึ่งมีขนาดน้ำหนักต่างๆกัน ได้แก่ 70, 75, 80, 100 และ120 แกรม (กรัม/ตารางเมตร) และมีหน้ากว้างม้วนกระดาษต่างๆ ดังนี้ 1250,1300, 1502, 1605, 1700,1758, 1808, 2135, 2190, และ 2200 มิลลิเมตร (2) กำหนดรูปแบบทางคณิตศาสตร์โดยวิธีการโปรแกรมเชิงเส้น เพื่อคำนวณหารูปแบบการตัดกระดาษตามชนิดสินค้าให้เหลือเศษตัดริมน้อยที่สุด (3) ศึกษากระบวนการดำเนินงานของโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ได้แก่ การรับใบสั่งซื้อ การเตรียมการผลิต การผลิต และการจัดส่งสินค้าจากโรงงานถึงท่าเรือ (4) วิเคราะห์โครงข่ายกิจกรรมงานและ (5) ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อลดความสูญเปล่า โดยอาศัยหลักการ ECRS ได้แก่ วิธีการขจัด รวบรวม จัดใหม่ และทำให้ง่าย ผลการศึกษาพบว่า (1) สามารถลดปริมาณเศษตัดริมกระดาษที่เกิดจากการจัดหน้าม้วนจากเดิม 719.6 ตัน/ปี เป็น 561.2 ตัน/ปี ลดลงคิดเป็น 22% (2) จำนวนสินค้าคงคลังลดลงจากเดิม 1557.3 ตัน/ปี เป็น 652.6 ตัน/ปี ลดลงคิดเป็น 58% และ(3) จากการปรับปรุงวิธีการจองเรือและรถ โดยกำหนดให้มีการได้รับการยืนยันการจองเรือและรถจากบริษัทขนส่ง ก่อนการยืนยันวันจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งแต่เดิมโรงงานจะแจ้งลูกค้าก่อนได้รับการยืนยันการรับจองเรือ ทำให้ปัญหาการจัดส่งล่าช้าหมดไป และโรงงานสามารถลดระยะเวลาในการดำเนินงานการผลิตต่อใบซื้อต่อเดือน ตั้งแต่ขั้นตอนการได้รับใบสั่งซื้อจากลูกค้าจนถึงขั้นตอนการจัดส่งสินค้าถึงท่าเรือในประเทศ ลดลงจากเดิม 28 วัน เหลือ 25 วัน และทำให้โรงงานจัดส่งสินค้าได้ทันตรงตามกำหนด
Other Abstract: The objective of this research was to (1) reduce a trim-loss of paper roll as raw material input, and (2) reduce loss time in paper manufacturing process. The research had studied on (1) the pattern of cutting method on various width paper rolls being 1250, 1300, 1502, 1605, 1700,1758, 1808, 2135, 2190, and 2200 mm.. The papers were 70, 75, 80, 100 and 120 gram (g/m2), (2) a mathematical model via linear programming to determine optimal cutting pattern which can minimize trim loss, (3) internal operation process which were purchase received order, production preparation, production, and goods delivery from the factory to inland port, (4) activity network analysis, and (5) improvement of working process in order to reduce waste using ECRS technique as elimination, combination, rearrange and simplification. The study was found that (1) the trim-loss of paper roll in cutting process could be reduced from 719.6 ton/year to 561.2 ton/year or reduced to 22%, (2) the inventory was reduced from 1,557.3 ton/year to 652.6 ton/year reduced to 58%, and (3) the improvement of the procedure for ship and truck reservation by receiving the confirmation from the ship and truck companies before informing the shipping date to customers which previously the factory had informed customers before knowing the confirmation of ship and truck reservation. These could eliminate the shipping delay. Finally, the internal operation time of the factory was reduced from 28 days to 25 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37415
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1098
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1098
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siriwan_mu.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.