Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37575
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์-
dc.contributor.authorกิตตินนท์ จรูญศรีสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-12-19T15:19:29Z-
dc.date.available2013-12-19T15:19:29Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37575-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าด้วย การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังเข้ารับการฝึกโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเซปักตะกร้อประเภทคู่หญิง ทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อประเภทคู่หญิงทีมชาติไทย จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 20 – 24 ปี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้ารับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้า ซึ่งเป็นการฝึกแบบหนักสลับเบา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 โปรแกรมการฝึกมีความหนัก 95 – 100 % ของอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า และระยะที่ 2 โปรแกรมการฝึกมีความหนัก 100 – 105 % ของอัตรา การเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า แต่ละระยะของโปรแกรมใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ทำการทดสอบจุดเริ่มล้าด้วยการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนก๊าซแบบวิธีวีสโลป ทดสอบก่อนและหลังเข้ารับการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ จุดเริ่มล้าแสดงค่าเป็นอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า “ ที ” ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงที่ได้รับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น +3.78 % 2. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงที่ได้รับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่า สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น +13.19 % 3. หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นักกีฬาเซปักตะกร้อหญิงที่ได้รับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่า สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น +6.04 % สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าสามารถเพิ่มระดับจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเซปักตะกร้อประเภทคู่หญิง ทีมชาติไทยen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effect of training program development on anaerobic threshold (AnT) by comparing the results before and after training in Thai female national double event sepaktakraw athletes. The subjects were 4 Thai female national double event sepaktakraw athletes; aged between 20 – 24 years old, sampled by purposive random sampling. All subjects were trained with AnT training program. The AnT training program was interval exercise training and divided into 2 phases: The first phase, subjects were trained at 95 – 100 % of heart rate at AnT; The second phase, subjects were trained at 100 – 105 % of heart rate at AnT. Each phase was performed 2 times a week for 3 weeks. AnT was assessed by gas exchange analysis which based on V – slope method. AnT showed results as heart rate and oxygen consumption at AnT. The results were analyzed in term of means, standard deviation, percentage and t-test was used to determine the significant differences. Research results indicated that: 1. After 6 weeks of the experiment, female sepaktakraw athletes who trained with the AnT training program showed no significant difference increased in heart rate at AnT (P < .05), but there were increasing +3.78 %. 2. After 6 weeks of the experiment, female sepaktakraw athletes who trained with the AnT training program showed significant difference increased in oxygen consumption at AnT (P < .05), and there were increasing +13.19 %. 3. After 6 weeks of the experiment, female sepaktakraw athletes who trained with the AnT training program showed no significant difference increased in maximal oxygen consumption (P < .05), but there were increasing +6.04 %. Conclusion: The AnT training program can increase AnT in Thai female national double event sepaktakraw athletes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.666-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักกีฬาหญิงen_US
dc.subjectเซปักตะกร้อ -- การฝึกen_US
dc.subjectWomen athletesen_US
dc.subjectSepaktakraw -- Trainingen_US
dc.titleผลการพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเซปักตะกร้อประเภทคู่หญิงทีมชาติไทยen_US
dc.title.alternativeThe effects of training program development on anaerobic threshold in Thai female national double event sepaktakraw athletesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChalerm.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.666-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittinon_ch.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.