Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3787
Title: ความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย
Other Titles: Prevalence of gallstones in thalassemia
Authors: ธิดารัตน์ พงศ์สิริพิพัฒน์, 2521-
Advisors: อิศรางค์ นุชประยูร
ปานฤทัย ตรีนวรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Issarang.N@Chula.ac.th
medinp@md2.md.chula.ac.th
Subjects: นิ่วน้ำดี
ธาลัสสีเมีย -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ - เพื่อศึกษาความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีในผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่ละกลุ่มอาการรวมถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย รูปแบบการวิจัย - การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ศึกษา - คลินิกผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรคเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร - ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่คลินิกกุมารเวชกรรมโรคเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 วิธีการศึกษา - เก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลและประวัติในแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และนัดผู้ป่วยมาทำอัลตราซาวด์ตับและทางเดินน้ำดี โดยให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำมาก่อนเป็นเวลา 6 ชั่วโมง และลงบันทึกผลอัลตราซาวด์ไว้ในแบบฟอร์มบันทึกผลอัลตราซาวด์ ผลการศึกษา - ผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมการศึกษา 64 ราย พบความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีในผู้ป่วยธาลัสซีเมียทั้งหมด 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.6 แบ่งเป็นชนิดเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี 9 รายใน 53 ราย (ร้อยละ16.98) ชนิดโฮโมไซกัส เบต้าธาลัสซีเมีย 1 รายใน 6 ราย (ร้อยละ16.6) และไม่พบมีนิ่วในถุงน้ำดีเลยในธาลัสซีเมียชนิดอื่นๆ (ธาลัสซีเมียเออีบาร์ท, ธาลัสซีเมียคอนสแตนท์สปริง อีเอฟบาร์ท และฮีโมโกลบินเอชคอนสแตนท์สปริง) และในผู้ป่วยชนิดเบต้าธาลัสซีเมียยังพบว่า อายุเฉลี่ยในกล่มที่มีนิ่วในถุงน้ำดีคือ 11.8 ปี มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีนิ่วคือ 8.6 ปี อย่างมีนัยสำคัญ (P value = 0.017) และเพศหญิงมีความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ (P value = 0.038) แต่ความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีไม่มีความแตกต่างกันในปัจจัยด้านชนิดของธาลัสซีเมีย ระดับฮีโมโกลบิน ความถี่ในการให้เลือด การได้รับยาขับเหล็ก การตัดม้าม และชนิดของจีโนทัยป์ ผลสรุป พบความชุกของนิ่วในถุงน้ำดีสูงในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี โดยเฉพาะในเพศหญิงและสูงขึ้นตามอายุ ผู้ป่วยทั้งหมดตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ
Other Abstract: Objectives - To determine the prevalence of gallstones in thalassemic syndromes and the factors that may be associated with prevalence of gallstones in thalassemia. Design - Cross-sectional descriptive study Setting - Pediatric hematology clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital Population - Thalassemic patients in Pediatric hematology clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital , between March 1, 2005 and December 30, 2005 Methods - Patient data was obtained from medical records and was filled in case record form. The thalassemic patients were appointed to perform hepatobiliary tract ultrasonography. After the patients had empty stomach for 6 hours, the ultrasonography were performed and recorded in ultrasonography record form. Results - Sixty four thalassemic patients were studied. The prevalence of gallstones in thalassemia is 10 of 64 patients (15.6%). Nine of 53 beta-thal/ Hb E patient have gallstones (16.9%), one of 6 homozygous beta-thal has gallstone (16.6%) and there is no gallstone in other types of thalassemia. Among beta-thal/ Hb E and homozygous beta-thal, gallstone-positive patient have significantly higher age than gallstone-negative patient (P value = 0.017), female has significantly higher prevalence of gallstone than male (P value = 0.038).There is no significant association between type of thalassemia, Hb level, frequency of blood transfusion, desferoxamine therapy, splenectomy and genotype on gallstone. Conclusion - High prevalence of gallstones in thalassemic children are found since 9 years old especially female and increase by age. All of gallstone-positive patients are asymptomatic
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3787
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1238
ISBN: 9741422326
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1238
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarat.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.