Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38786
Title: แนวทางพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่แหล่งวัตถุดิบลิกไนต์ของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า : กรณีศึกษา เหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Other Titles: Guidelines for development and reclamation of lignite raw area in electricity generating industry : a case study of Mae Moh Mine Mae Moh District Lampang Province
Authors: ไพจิต นพรัตน์
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
เสนาะ ชลายน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Banasopit.M@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไฟฟ้า
ลิกไนต์
Electricity
Lignite
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวทางพัฒนาและฟื้นฟูที่เหมืองแม่เมาะ เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนาและฟื้นฟูที่เหมืองแม่เมาะ และเสนอแนะทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบลิกไนต์ของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า รวมทั้งกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของเหมืองแม่เมาะ การดำเนินงานเหมืองแม่เมาะได้กำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเหมืองแม่เมาะ ทั้งทางด้านกายภาพโดยการลดผลกระทบที่มีผลต่อคุณภาพอากาศด้วยวิธีควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดจากการดำเนินงานเหมือง อุทกวิทยาของน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ในส่วนของการกระบายน้ำและควบคุมผลกระทบที่มีต่อระบบน้ำใต้ดินสภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะปรับสภาพภูมิประเทศให้เหมือนสภาพเดิมในธรรมชาติให้มากที่สุด ส่วนทางด้านการคมนาคมขนส่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากจราจรขณะดำเนินงานเหมือง ส่วนภายหลังจะสามารถลดปริมาณการจราจรลงได้ เนื่องจากการดำเนินงานเหมืองแม่เมาะได้สิ้นสุดลง ส่วนทางด้านเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตและพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านที่ถูกอพยพไป เนื่องจากการดำเนินงานเหมืองและหมู่บ้านที่อยู่บริเวณโดยรอบเหมืองแม่เมาะ เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ รายได้และรายจ่าย และสุขภาพอนามัยของชุมชน เนื่องจากฝุ่นละอองและอื่น ๆ ทั้งนี้จะพิจารณาถึงผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้จะพิจารณาถึงแหล่งท่องเที่ยวและโบราณสถานโดยรอบ พื้นที่เหมืองแม่เมาะ และจะกำหนดให้พื้นที่เหมืองแม่เมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในอนาคต พื้นที่ที่จะได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูภายหลังการใช้ประโยชน์ที่ดินเหมืองแม่เมาะ จะต้องไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณโดยรอบ ส่วนที่เหลือที่ไม่อยู่ในพื้นที่ที่จะต้องพัฒนาและฟื้นฟูภายหลังการใช้ประโยชน์ที่ดินสิ้นสุด ฉะนั้น รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเหมืองแม่เมาะที่กำหนดขึ้นได้วางหลักการ กระบวนการ และการจัดตั้งกองทุนพัฒนาและฟื้นฟูขึ้นที่มีระบบการจัดการที่ดี และมีแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูไว้โดยกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่ แหล่งน้ำ พื้นที่ป่า พื้นที่พักผ่อนและแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นจะเป็นพื้นที่วางเปล่า ถนน คลองส่งน้ำ สายไฟฟ้าแรงสูง และอื่น ๆ ส่วนการบริหารหรือการจัดการจำเป็นจะต้องจัดตั้งองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเหมืองแม่เมาะขึ้น โดยอาศัยแนวคิดในการกำหนดรูปแบบ เพื่อประมาณราคางบประมาณที่จะต้องใช้ในการพัฒนาและฟื้นฟูโดยคิดจากการประมาณถ่านหินลิกไนต์ตามแผนการเดินหน้าเหมืองแล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกับงบประมาณพัฒนาและฟื้นฟูเหมืองแม่เมาะ เพื่อให้ได้เงินงบประมาณของกองทุนในการพัฒนาและฟื้นฟูเหมืองแม่เมาะต่อปริมาณถ่านหินลิกไนต์ทุก 1 ตัน และกำหนดระยะเวลาดำเนินงานพัฒนาและฟื้นฟูให้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานพัฒนาและฟื้นฟูที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด
Other Abstract: Guidelines for development and reclamation at Mae Moh Mine were proposed to design conceptual plan for development and reolamation in Mae Moh mine and to recommend an environmental impact mitigation plan from the landuse of lignite raw area in electrioity generating industry including to define a form of landuse. Mae Moh mine was operated with environment impaot prevention and from landuse of mine. In physical issue, to reduce the impact of air pollution by desulphurization unit and to control the drainage and any effect on the hydrology both surface and underground water. For topography and geology, they needed to reclaim and restore as same as before. The transportation impaot during the mining operation could be reduced because of the end of mining operation. Any effect on villages which were migrated and surrounding the mining area was indicated the socio-economic and quality of life. It also studied in the change of way of life, career, revenue and expenditure and health, bothly in short and long periods. Beside, the reoreation and ancient remains around the mine were also oonsidered. Mae Moh mine would be a recreation area later. The development and reclamation area after the endues of Mae Moh mine purpose should have no any effect on other area around. Therefore, the classify of landuse in this area should be considered with theprinciple, procedure and development and reclamation foundation whioh is managed in an effective system. The guidelines which were proposed by the foundation were to develop for an agriculture residence, water resources, forestry, and recreation area. For the administration or management, it needs to establish a development and reclamation for Mae Moh mine organization to estimate a budget in the development and reclamation from lignite in according to mine operation then comparing with a budget of development reclamation of Mae Moh mine per 1 ton of lignite. The endues of development and reclamation of Mae Moh mine par 1 ton of lignite. The endues of development and reclamation period should be achieved in the schedule.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38786
ISBN: 9746356275
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phaichit_No_front.pdf810.18 kBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch1.pdf718.16 kBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch2.pdf884.81 kBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch3.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch4.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch5.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Phaichit_No_back.pdf788.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.