Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3883
Title: การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ สำหรับนักศึกษาฝึกหัดครูสาขาการศึกษาปฐมวัย
Other Titles: A development of a program for promoting early childhood education students' ability on organizing content by using graphic organizers
Authors: ศิริลักษณ์ หย่างสุวรรณ, 2515-
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Boosbong.T@chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้อย่างมีความหมาย
การสอนด้วยสื่อ
แผนผัง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพสำหรับนักศึกษาฝึกหัดครูสาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 5 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงจากนักศึกษาทั้งหมด 30 คน ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมฯ มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 สร้างโปรแกรมฯ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้โปรแกรมฯ และขั้นที่ 4 ปรับปรุงโปรแกรมฯ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 13 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสอนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพและการประยุกต์การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพในการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ 5 สัปดาห์ระยะที่ 2 การสอนการนำการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพไปประยุกต์ในการสอน 4 สัปดาห์ และระยะที่ 3 การติดตามผล 4 สัปดาห์ การทดสอบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ ระยะที่ 1 ใช้แบบทดสอบความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ การทดสอบก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฯ ระยะที่ 2 ใช้แบบทดสอบความสามารถในการเขียนแผนการสอนโดยใช้การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ ส่วนระยะที่ 3 ใช้แบบประเมินความสามารถในการผลิตสื่อและการสอนโดยใช้การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพในชั้นเรียนจริง และแบบบันทึกพฤติกรรมครูและพฤติกรรมเด็กในกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการเขียนแผนการสอนโดยใช้การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกาาระยะที่ 3 ทุกคนมีความสามารถในการผลิตสื่อและการสอน โดยใช้การจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพในชั้นเรียนจริงในระดับผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วประกอบด้วยความเชื่อพื้นฐาน หลักการ ผู้ใช้โปรแกรมฯ และกลุ่มเป้าหมาย โครงสร้างและลักษณะของโปรแกรม การประเมินผล การประยุกต์ใช้โปรแกรม เอกสารและสื่อของโปรแกรมฯ ซึ่งได้แก่ 1) แผนการสอนจำนวน 14 แผน 2) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ จำนวน 1 เล่ม 3) เอกสารประกอบการสอน จำนวน 5 เล่ม
Other Abstract: The purpose of this research was to develop a program for promoting early childhood education students' ability on organizing content by using Graphic Organizers. The subjects in phase 1 and 2 were thirty of third year students majoring in early childhood education and the subjects in phase 3 were five students purposively sampled from the total of thirty. The method of the study consisted of 4 phases, namely, preliminary study, program construction, field testing and program revision. The duration of field testing was 13 weeks having 3 phases:phase 1, five weeks of teaching basic knowledge about Graphic Organizers and practicing application of the basic knowledge, phase 2, four weeks of applying Graphic Organizers to classroom instruction, and, phase 3, four weeks of follow-up. The pre-testing and post-testing of phase 1 were done to assess the ability to organize content by using Graphic Organizers test, the pre-testing and post-testing of phase 2 were done to assess the ability to design a lesson plan byusing Graphic Organizers test, and in phase 3 were done to assess the student's performances on producing materials and providing classroom instruction using Graphic Organizers evaluation from and the observation form on classroom behavior of teacher and pupils in the instructional activities using Graphic Organizers. The research results were as follows: 1) after the experiment, the scores on ability to organize content by using Graphic Organizers of the subjects were significantly higher than before the experimental at .01 level; and 2) after the experiment the scores on ability to design a lesson plan by using Graphic Organizers of the subjects were significantly higher than before the experiment at .01 level; 3) The subjects in phase 3 passed the criteria on producing materials and providing classroom instruction by using Graphic Organizers. The revised program consisted of underlying concepts, principles, roles and responsibilities of the program user and target group, program structure and the features, evaluation, program implementation and program materials which were 1) fourteen lesson plans, 2) a teacher's handbook for implementing the program, 3) five supplementary books for teaching 5 types of Graphic Organizers
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3883
ISBN: 9743333541
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriluk.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.