Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38878
Title: สภาพปัจจุบันและความคาดหวังเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยชั่วคราวและถาวร ของผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง
Other Titles: Current shelter situation and temporary shelter and permanent housing expectation of construction workers
Authors: ประสาร ศรีศุภชัยยา
Advisors: มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
Subjects: คนงานก่อสร้าง -- ความต้องการที่อยู่อาศัย
การย้ายถิ่นของแรงงาน
Migrant labor
Construction workers -- Residence requirements
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยชั่วคราวของผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ความคาดหวังในด้านที่อยู่อาศัยถาวร สถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การอยู่อาศัย การย้ายถิ่น กระบวนการเข้าสู่อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาต่างๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือผู้ใช้แรงงานก่อสร้างที่ทำงานในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) และปริมณฑล (BMR) จำนวน 400 ตัวอย่าง จาก 50 โครงการ โดยวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ตามสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโครงการ (Quota Sampling) ผลการวิจัยมีสาระสำคัญคือ แรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุน้อยกว่า 30 ปี มีภูมิลำเนาเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการศึกษาระดับภาคบังคับชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นกรรมกร แรงงานไม่มีฝีมือ ซึ่งมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี ด้วยการชักชวนของเพื่อนและญาติ อพยพเข้ามาทำงานแบบชั่วคราว สลับกับการทำการเกษตรที่ภูมิลำเนาเดิม โดยไม่มีความสนใจที่จะยึดอาชีพก่อสร้างเป็นอาชีพหลัก ในด้านที่อยู่อาศัยขณะทำอาชีพก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับนายจ้าง เป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว ขนาดห้อง 2.50x3.00 เมตร ปลูกเป็นเรือนแถวติดกัน วัสดุที่ใช้ประกอบส่วนใหญ่เป็นสังกะสี น้ำใช้และไฟฟ้า นายจ้างเป็นฝ่ายจัดหาให้ ความคาดหวังเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยถาวร พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการเตรียมการในเรื่องที่อยู่อาศัยใหม่แต่อย่างใด ยังคงจะโยกย้ายไปตามหน่วยงานก่อสร้างใหม่ๆ เมื่อหมดงาน สลับกันการย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม เมื่อถึงฤดูการทำการเกษตร การเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่ได้ จะนิยมปลูกสร้างเอง ณ ภูมิลำเนาเดิม จากข้อค้นพบในด้านรายได้และเงินออม แรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถในการเป็นเจ้าของบ้านได้เลย ยกเว้นกลุ่มแรงงานก่อสร้างไทยในต่างประเทศ ที่สามารถเก็บเงินออมได้ 4,000-5,000 บาทต่อเดือน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า มีส่วนสนับสนุนในประเด็นของการขาดแคลนแรงงานก่อสร้างภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน โดยเฉพาะช่างต่างๆ หรือแรงงานฝีมือ ส่วนใหญ่จะมีแต่กรรมกร และยังมีแรงงานก่อสร้างจำนวนหลายแสนคนทำงานในต่างประเทศ ดังนั้น การจัดสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวที่เหมาะสม การพัฒนาฝีมือแรงงาน และยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ทัดเทียมกับผู้ใช้แรงงานอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมประเภทอื่น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการพัฒนาประเทศตามแผนต่างๆ ที่วางไว้
Other Abstract: The main objectives of this research are to study the current shelter situation for construction workers who work in CBD and BMR area, their socio-economic status, living condition, migration to the construction industry, and their expectation for permanent housing. The 400 populations of construction workers from 50 construction projects in CBD and BMR area were randomly selected by accidental sampling questionnaire from the quota sampling for each construction project. The finding from this research show that the majority of construction workers are men, under 30 years old, from North-Eastern, educated under primary school, unskilled labour force, experience under 5 years, introduced by friends and relatives, temporary migration to Bangkok Metropolis and Vicinity during non-agricultural season, and not interested in construction industry for permanent job. During construction schedule, at least 2 workers stay in a room size 2.50x3.00 metres connected together, in the temporary shelter, water and electricity are provided by the owner. By considerly their expectation for permanent housing, the results show that they never have any plan for future housing but plan to move to another construction site and back to the home town when the agricultural season. However, for their future houses, they plan to build by themselves. The findings for income and saving show that they will not able to have any housing investment, if and only if, they can earn and save as the same amount 4,000-5,000 Bath per month as the Thai construction workers in other countries. The results of this research support that the lack of construction workers is occurring, especially the skilled labour and still have a number nearly million of construction workers in other countries. Therefore, a facilitated temporary housing along with the planning to develope construction skill and standard of living as the same as workers in other industry should be provided, as long as the human resources are important to develope the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/38878
ISBN: 9746354434
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasarn_Sr_front.pdf797.22 kBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch1.pdf727.3 kBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch2.pdf871.51 kBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch3.pdf881.1 kBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch4.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_ch6.pdf800.27 kBAdobe PDFView/Open
Prasarn_Sr_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.