Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/391
Title: การศึกษาการดำเนินงานการจัดหลักสูตรของโรงเรียนวิถีพุทธ
Other Titles: A study of the curriculum organization of the Buddhist's way of life schools
Authors: โสธรารักษ์ ชุนรักญาติ, 2520-
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน
โรงเรียนวิถีพุทธ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานการจัดหลักสูตรของโรงเรียนวิถีพุทธ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการในการจัดการศึกษาแนวพุทธ ได้ดำเนินการและมีผลงานอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานผลการปฏิบัติงานจากคณะทำงานโรงเรียนวิถีพุทธ กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 6 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนและครูหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเตรียมการจัดหลักสูตร โรงเรียนวิถีพุทธมีการจัดหาที่ปรึกษา จัดหาแหล่งศึกษา จัดหาเอกสารข้อมูล การจัดเตรียมบุคลากร การเตรียมคณะกรรมการสถานศึกษา การเตรียมนักเรียน การเตรียมผู้ปกครองและชุมชน การกำหนดธรรมนูญสถานศึกษาและการจัดแผนปฏิบัติการ ไม่พบปัญหาในการเตรียมการจัดหลักสูตร 2. ด้านการดำเนินงานการจัดหลักสูตร โรงเรียนวิถีพุทธมีการจัดหลักสูตรสถานศึกษา โดยการเพิ่มเติมพุทธธรรมเป็นจุดเน้นของสถานศึกษา ที่สะท้อนการพัฒนาตามหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) แบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้และในชีวิตประจำวัน มีการจัดหน่วยการเรียนรู้ โดยการบูรณาการพุทธธรรมในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นการนำพุทธธรรมมาเป็นเกณฑ์ตรวจสอบการเรียนรู้ การปฏิบัติหรือการเชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ มีการกำหนดกิจกรรมนักเรียน โดยเน้นส่งเสริมการ "กิน อยู่ ดู ฟังเป็น" การจัดสภาพกายภาพของสถานศึกษา มีการจัดสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาที่ชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย การจัดบรรยากาศปฏิสัมพันธ์ เน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ "กิน อยู่ ดู ฟังเป็น" การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร เน้นการประสานความร่วมมือกับวัด/คณะสงฆ์และชุมชนในการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาผู้เรียนรอบด้านทั้งกาย (กายภาวนา) ความประพฤติ (ศีลภาวนา) จิตใจ (จิตตภาวนา) และปัญญา (ปัญญาภาวนา) มีการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง โดยส่งเสริมการศึกษาและการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง มีการนิเทศ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ และมีการสนับสนุนทรัพยากรโดยการจัดหาข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ ไม่พบปัญหาในการดำเนินงานการจัดหลักสูตร 3. ด้านการติดตามประเมินผลการจัดหลักสูตร โรงเรียนวิถีพุทธ มีการดำเนินการติดตามประเมินผลการจัดหลักสูตร โดยการสอบถามจากรองผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศึกษา จากแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและสังเกตจากการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การจัดหลักสูตรตลอดทั้งปีการศึกษา และมีการเผยแพร่ผลการดำเนินงานการจัดหลักสูตร โดยการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และจัดตั้งองค์กรความร่วมมือทางการเป็นผุ้นำการจัดการศึกษาแนวพุทธ ไม่พบปัญหาในการติดตามประเมินผลการจัดหลักสูตร
Other Abstract: To study the operation and problems of the curriculum organization of the Buddhist's way of life schools. Population was drawn from Reports of the Buddhist's way of life schools. Task force on working performance of basic educational schools which initiated the application of Buddhism approach into educational system. These schools have been reportedly doing constant performance from Ministry of Education. This research has sources of data consist of the administrators, deputy academic administrators, teachers as chief of learning subject group teachers, and teachers as chief of student activity group. Tools used were semi-structured interview sheet documentary form. Statistics used were frequency distribution and percentage. Research findings: 1. At the preparation stage, the Buddhist's way of life schools have selected consultants and provided learning resources, documents and information, personnel, school committees, students, parents and people of the community; law of institution and institutional action plan. No problem was found in the preparation stage. 2. At the operational stage, the Buddhist's way of life schools stresses the Buddhist philosoply as the highest of the institution as to reflecting development under the Principle of Tri Sikkha (Prohibitions to do bad things; mediatation, intellectuality) through integration of learning and daily life. There has been organizing learning units by integrating Buddhist philosophy into every group of learning subjects. The plan of learning has emphasized the Buddhist philosophy as criteria of examining the achievement of learning practicing or combination of learning among group of subjects. To set up students' activities have been defined based on promoting the proper way of living. On the physical aspect of learning institutes, the school's surroundings have been organized to remind students of the Phra Rattana Tri. The learning curriculum also emphasizes the co-ordination among the schools and temples as well as local community for learning management. Learners developed in all aspects of physical, behavioral, moral, and wisdom. Related personnel developed through education and Dhamma practice. The schools have also provided frequent supervision and monitoring. To support schools' resources have been provided by searching neccessary academic information for teaching. No problem was found in the operational stage. 3. At the follow-up and evaluation stage. The schools have been carried out through interview with deputy academic administrators of the institutes and teachers leading the groups of learning subjects. Observations were also taken on teaching performance. It had been operated through academic year and the public relations of the curriculum organization had been publicized through exhibitions as well as organizational co-operations to lead the Buddhist's way of life learning. No problem was found in the follow-up and evaluation stage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/391
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.490
ISBN: 9741758227
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.490
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sotararak.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.