Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/393
Title: การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย
Other Titles: The construction and development of Thai music aptitude test
Authors: ประยุทธ ไทยธานี, 2515-
Email: Suwatana.S@chula.ac.th
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ดนตรีไทย--แบบทดสอบ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย สำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปี โดยเริ่มจาก 1) ศึกษาองค์ประกอบของความถนัดทางดนตรีไทย จากผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีไทย 21 ท่าน โดยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) 2) นำองค์ประกอบทั้งหมดมาสร้างเป็นแบบสอบ 3) นำไปทดสอบกับกลุ่มนักดนตรีไทย นักดนตรีสากล และบุคคลทั่วไป รวม 706 คน เพื่อวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) หาองค์ประกอบที่สามารถจำแนกกลุ่มได้ 4) นำแบบสอบที่ผ่านการ ตรวจสอบแล้วไปทดสอบกับนักเรียนอายุ 10-18 ปี 1,735 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบขั้นตอนจากทั่วประเทศ และ นักเรียนอีกหลายกลุ่ม เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบ และ 5) สร้างปกติวิสัย ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย สำหรับนักเรียนอายุ 10-18 ปี ประกอบด้วยแบบสอบย่อย 12 ชุดตามองค์ประกอบของความถนัดทางดนตรีไทย คือ 1) ความรู้สึกที่มีต่อดนตรีไทย 2) ความสามารถในการจำแนกเสียงสูง-ต่ำ 3) ความสามารถในการจำแนกเสียงสั้น-ยาว 4) ความสามารถในการจำแนกเสียงเบา-ดัง 5) ความ สามารถในการจำแนกคุณลักษณะเฉพาะของเสียง 6) ความสามารถในการจำแนกช่วงเสียง 7) ความสามารถในการจำทำนองเพลง 8) ความสามารถในการจำจังหวะ 9) ความสามารถในการรับรู้ทำนองหลักกับทำนองแปล 10) ความ สามารถในการรับรู้ความกลมกลืนของเพลงไทย 11) ความสามารถในการรับรู้ความไพเราะของเพลงไทย และ 12) ความสามารถในการสังเกตรายละเอียดของวิธีการปฏิบัติดนตรีไทยด้วยสายตา ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) พบว่าแบบสอบฉบับนี้มุ่งวัดใน 2 มิติคือ มิติที่เป็นองค์ประกอบร่วมของความถนัดทางดนตรีทั่วไป ได้แก่ แบบสอบย่อยชุดที่ 2-8 และ 12 และมิติที่เป็นองค์ประกอบเฉพาะของความถนัดทางดนตรีไทย ได้แก่ แบบสอบย่อยชุดที่ 1 และ 9-11 ซึ่งแบบสอบทั้งหมดบันทึกอยู่ใน CD 2 แผ่น และ VCD 1 แผ่น 2. แบบสอบฉบับนี้ มีความตรงตามเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในช่วง .52-1.00 และผลจากวิธี known group technique พบว่านักเรียนดนตรีไทยมีคะแนนเฉลี่ยความถนัดทางดนตรีไทยในทุกด้านและโดยรวมมากกว่านักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ามีความตรงตามโครงสร้าง (เชิงจำแนก) นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความถนัดทางดนตรีไทยรวมทั้งฉบับกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีไทยของนักเรียนที่เริ่มเรียนดนตรีไทย มีค่าเท่ากับ .926 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ามีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (เชิงสภาพ) สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของแบบสอบทั้งฉบับมีค่า .9777 ส่วนในแบบสอบย่อยแต่ละชุด มีค่าอยู่ในช่วง .7896-.9385 3. ปกติวิสัยมี 4 กลุ่ม คือ อายุ 10-11 ปี 12 ปี 13-15 ปี และ 16-18 ปี โดยแสดงในตารางซึ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนดิบ (raw score) เปอร์เซนไทล์ (percentile) และคะแนนทีปกติ 9normalized T-score) ที่แปลงมาจากคะแนนดิบ โดยในแต่ละกลุ่มแยกเป็นความถนัดทางดนตรีไทยในแต่ละด้านและโดยรวม
Other Abstract: The purpose of this study was to construct and develop Thai music aptitude test for students between 10-18 years of age. The procedures of the study were as follows: 1) Using the process of future research called Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) to study and examine which factors most contribute to Thai music aptitude from 21 Thai music experts. 2) Constructing the test by using all those factors. 3) Trying out the test with 706 people including Thai musicians, western musicians, and non-musicians to verify significant factors that could be used to classify people by using Discriminant Analysis. 4) Using the revised test with a sample of students between 10-18 years of age for verifying the test quality. The sample comprised 1,735 students between 10-18 years of age, selected from students all over Thailand by using multi-stage sampling. 5) Constructing the norms. The major findings were as follows: 1. Thai music aptitude test for students between 10-18 years of age consisted of 12 sub-tests; 1) Preference of Thai music, 2) Pitch discrimination, 3) Duration discrimination, 4) Loudness discrimination, 5) Sound's characteristic discrimination, 6) Interval discrimination, 7) Tonal memory, 8) Rhythmic pattern memory, 9) Sensibility for relation between basic and full melodies, 10) Sensibility for harmony of Thai music, 11) Sensibility for beauty of Thai music, and 12) Observation for the performance of Thai music. According to Factor Analysis, the results indicated that this test attended to measures in 2 dimensions, namely, Co-ordinate factor of music aptitude (sub-tests 2-8 and 12) and Unique factor of Thai music aptitude (sub-tests 1 and 9-11). The test was recorded in 2 CDs and a VCD. 2. The index of consistency (IOC) had range content validity between .52-1.00. Results from using the Known Group Technique revealed that Thai music aptitude of Thai music students was significantly higher than that of general students in all sub-tests at .05 level, supporting the construct validity (discriminant). The criterion-related validity (concurrent) indicating relationship of this test with achievement of Thai music was .926 and significant at .01 level. The internal consistency reliability coefficient of this test was .9777 and the coefficient of each sub-test ranged from .7896-.9385. 3. According to the norm construction, the norm groups were students between 10-11 years, 12 years, 13-15 years, and 16-18 years. Showing the norm groups in the table of relationship between raw score, percentile and normalized T-score, which was derived from raw score. Ineach group was classified into Thai music aptitude in each factor and in the over all picture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/393
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.818
ISBN: 9741741189
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.818
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prayooth.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.