Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3986
Title: ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ที่มีผลต่อเชาวน์อารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of cooperative learning using student team-achievement divisions on emotional intelligence and mathematics learning achievement of mathayom suksa one students
Authors: นาฏยา ปั้นอยู่, 2516-
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
ชุติมา พงศ์วรินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Derek.s@chula.ac.th
Chutima.P@chula.ac.th
Subjects: การทำงานกลุ่มในการศึกษา
ความฉลาดทางอารมณ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ที่มีต่อเชาวน์อารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวุ้งวิทยาคาร จังหวัดลพบุรี จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ให้ห้องเรียนหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ จำนวน 36 คน และอีกห้องเรียนหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ นักเรียนทุกคนได้รับการวัดเชาวน์อารมณ์และทัศนคติ ต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วนักเรียนทุกคนรับการทดสอบ ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และเชาวน์อารมณ์อีกครั้งหนึ่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ t และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ มีเชาวน์อารมณ์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ มีเชาวน์อารมณ์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To study the effects of cooperative learning using Student Team-Achievement Divisions (STAD) on emotional intelligence and mathematics learning achievement of matheyom suksa one students. The subjects were seventy-two mathayom suksa one students of Tawungvitayacan School at Lopburi. One classroom, thirty-six student, was the experimental group studied through STAD and other classroom, was the control group studied through conventional method. All subjects were tested their emotional intelligence and attitude towards mathematics before the treatment. After the treatment, all subjects were tested in mathematics learning achievement and emotional intelligence again. The data were analyzed by t-test and analysis of covariance (ANCOVA). The results were follow: 1. The students studied through STAD have emotional intelligence after the treatment higher before the treatment at .01 level of significance. 2. The students studied through STAD showed higher emotional intelligence than those students studied through conventional method at .01 level of significance. 3. The students studied through STAD showed higher mathematic learning achievement than those students studied through conventional method at .01 level of significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3986
ISBN: 9741308752
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nataya.pdf992.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.