Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40283
Title: | การศึกษาความหมายประจำคำและความหมายทางไวยากรณ์ของคำว่า cho 'ให้' ในภาษาเวียดนาม |
Other Titles: | A study of lexical and grammatical meaning of cho 'give' in Vietnamese |
Authors: | สุธาทิพย์ เหมือนใจ |
Advisors: | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | kingkarn.t@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาเวียดนาม -- ไวยากรณ์ ภาษาเวียดนาม -- อรรถศาสตร์ ไวยากรณ์ปริชาน ไวยากรณ์ศัพทหน้าที่ ไวยากรณ์คำศัพท์ Vietnamese language -- Grammar Vietnamese language -- Semantics Cognitive grammar Lexical-functional grammar Lexical grammar |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำว่า cho 'ให้' ในฐานะที่เป็นคำหลักและคำไวยากรณ์และอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างความหมายเหล่านั้น ผลการวิจัยพบว่า คำว่า cho มีความหมาย 2 ประเภทใหญ่ คือ (ก) ความหมายประจำคำ ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทย่อย ได้แก่ 1) การโอนสิ่งของในครอบครองให้ผู้ใดผู้หนึ่ง 2) การใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปในภาชนะ และ 3) การแสดงความคิดเห็น และ (ข) ความหมายทางไวยากรณ์ ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทย่อย ได้แก่ 1) การบ่งชี้กรรมรอง 2) การบ่งชี้ผู้รับผลจากการกระทำ 3) การบ่งชี้การีต และ 4) การบ่งชี้วัตถุประสงค์ ความหมายทั้งหมดของคำว่า cho มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์นี้ได้ด้วยเครือข่ายความหมาย ในเครือข่ายความหมาย มีความหมาย “การโอนสิ่งของในครอบครองให้ผู้ใดผู้หนึ่ง” เป็นความหมายพื้นฐานอยู่ตรงกลาง และความหมายอื่น ๆ เป็นความหมายที่ขยายจากความหมายพื้นฐานออกไป ความหมายที่ขยายจากความหมายพื้นฐาน ได้แก่ ความหมาย "การใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปในภาชนะ" "การแสดงความคิดเห็น" "การบ่งชี้กรรมรอง" "การบ่งชี้ผู้รับผลจากการกระทำ" และ “การบ่งชี้การีต” อย่างไรก็ตาม มีความหมายเพียงหนึ่งความหมายที่ไม่ได้ขยายออกมาจากความหมายพื้นฐาน แต่ขยายออกจากความหมายขยายอื่น ได้แก่ ความหมายบ่งชี้วัตถุประสงค์ ซึ่งขยายออกจากความหมายบ่งชี้การีต ความหมายของคำว่า cho ที่ขยายออกไปส่วนใหญ่ เกิดจากกระบวนการทางปริชานที่สำคัญ คือ กระบวนการนามนัย ซึ่งเป็นการดึงเอาองค์ประกอบทางความหมายบางองค์ประกอบซึ่งเป็นองค์ประกอบข้างเคียงของความหมายพื้นฐานหรือความหมายขยายออกเป็นเป็นองค์ประกอบเด่นทำให้กลายเป็นความหมายหลักไป มีเพียงความหมายขยายเพียงความหมายเดียวที่เกิดจากกระบวนการอุปลักษณ์ ซึ่งเป็นการคิดหรือเข้าใจองค์ประกอบทางความหมายที่อยู่ในแวดวงนามธรรมในรูปขององค์ประกอบทางความหมายที่อยู่ในแวดวงรูปธรรม |
Other Abstract: | The objectives of this study are 1) to analyze the lexical and grammatical meanings of the word cho 'GIVE' and 2) to discuss the semantic relations among them. It is found that the word cho has two major types of meaning namely, lexical meaning and grammatical meaning. The first type of meaning is subclassified into the following subtypes 1) to transfer the possession of a certain entity 2) to supply or put something in a container and 3) to give an opinion. The second type of meaning is subclassified into the following subtypes 1) dative-marking 2) benefactive and malefactive-marking 3) causative-marking and 4) purposive-marking. The meanings of the word cho are interrelated. The relatedness between meanings can be represented in a semantic network in which the meaning "to transfer the possession of a certain entity" is the central meaning. The meanings which are extended from the central one are : to supply, to give an opinion, dative-marking, benefactive and malefactive-marking and causative-marking. The purposive-marking function is the only extended meaning which does not extend from the central meaning. Rather, it extends from the causative-marking function. The semantic extension is primarily motivated by the cognitive process of metonymy in which a covert meaning contiguous with another meaning is elevated. There is only one meaning which is extended by the proves of metaphor which involves the understanding of an entity in an abstract domain in terms of an entity in a concrete domain. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40283 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.338 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.338 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suthatip.pdf | 13.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.