Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41272
Title: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อ การพัฒนาสมรรถภาพเชิงวิชาชีพของนิสิตนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ
Other Titles: A causal relationship model of factors affecting professional competency development of business administration students
Authors: เพ็ญพิมล ลีโนทัย
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: mpateep@chula.ac.th
Suchada.b@chula.ac.th
Subjects: Professional competence
Business administration -- Study and teaching
สมรรถภาพทางวิชาชีพ
การพัฒนานักศึกษา
การบริหารธุรกิจ -- การศึกษาและการสอน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อ การพัฒนาสมรรถภาพเชิงวิชาชีพของนิสิตนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ และเปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝง ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุดังกล่าว ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัว และตัวแปรสังเกตได้ 26 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2542 จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และกลุ่มตัวอย่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,420 คน เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประกอบด้วยแบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบวัดทัศนคติต่อการเรียน-อาชีพ 1 ฉบับ และแบบวัดสมรรถภาพเชิงวิชาชีพ 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างและลักษณะการแจกแจงตัวแปร โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ สมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.14 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพเชิงวิชาชีพ สาขาบริหารธุรกิจมี 5 ประการ ได้แก่ ลักษณะภูมิหลังของนิสิตนักศึกษา กลุ่มอ้างอิงนอกสถาบัน หลักสูตร-โปรแกรมการเรียน ประสบการณ์ในชั้นเรียนและประสบการณ์นอกชั้นเรียน โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่พัฒนาและปรับปรุงแล้วจำแนกได้เป็น 3 โมเดล ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ของแต่ละกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ดี กล่าวคือ ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายค่าความแปรปรวน ของตัวแปรสมรรถภาพเชิงวิชาชีพสาขาบริหารธุรกิจได้ร้อยละ 81.6 ร้อยละ 98.6 และร้อยละ 85.4 ในกลุ่มตัวอย่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย มีดังนี้ 1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ควรปรับปรุงวิธีสอนและการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียน ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพเชิงวิชาชีพให้เพิ่มมากขึ้นด้วย 2. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ควรปรับเปลี่ยนวิธีสอนและการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนใหม่ เนื่องจากผลการวิจัย ..
Other Abstract: To develop the causal relationship model of factors affecting professional competency development of business administration students, and to compare the path of latent variable in this model among three groups of students from public universities, private universities, and Rajabhat/Rajamangala Institute of Technology. The developed model was a LISREL model consisting of 6 latent variables and 26 observed variables. There were 3 sample groups of 1,420 senior business administration students in the 1999 academic year from public universities, private universities, and Rajabhat/Rajamangala Institute of Technology. The research instruments were 1 questionnaire, 1 attitude toward learning and occupation test, and 1 professional competency test. Basic statistics were used to analyze the samples' background and the distribution of observed variables and LISREL program version 8.14 was performed for model testing. The research results indicated that there were 5 factors affecting the business professional competency development : students' background, noncollege reference group, curriculum, in-class experiences and out-of-class experiences. There were 3 adjusted model from 3 sample groups that each model was consistent with it's empirical data. The model accounted for 81.6&, 98.6%, and 85.4% of the variance in business professional competencies on the public, private, and Rajabhat/Rajamangala institutions respectively. Some suggestions from research results were as follow: 1. Public universities should improve the efficiency of teaching methods and in-class experiences, in order to make more business professional competency development. 2. According to the research findings, in-class experiences had no direct effects on business professional competency development, therefore private universities should change teaching methods and in-class experiences. In addition, private universities should improve out-of-class experiences for promoting academic environments. 3. The Rajabhat/Rajamangala institutions should create an out-of-class experiences which have direct effects on business professional competency development, such as academic environments, relationship with faculty, relationship with peers, and student affairs' activities
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41272
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.458
ISBN: 9743339949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penpimol_Le_front.pdf261.33 kBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_ch1.pdf594.55 kBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_ch2.pdf837.25 kBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_ch3.pdf307.36 kBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_ch5.pdf763.41 kBAdobe PDFView/Open
Penpimol_Le_back.pdf960.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.