Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41484
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต นิตยะ-
dc.contributor.advisorสุปรีชา หิรัญโร-
dc.contributor.authorจักรกฤษณ์ ขันติวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-19T11:02:56Z-
dc.date.available2014-03-19T11:02:56Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41484-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการของที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานก่อสร้าง และศึกษาทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนารูปแบบของที่พักอาศัยชั่วคราว รวมทั้งแนวความคิดและแนวทางในการพัฒนาที่พักดังกล่าวของผู้ประกอบการ ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกที่พักอาศัยชั่วคราวของคนงานก่อสร้าง บริษัท เวสท์คอน จำกัดเป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการพัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานก่อสร้างของกรณีศึกษา ในช่วงระยะเวลา พ.ศ.2528 – 2549 สามารถแบ่งช่วงเวลาการพัฒนาออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ 1 และ 2 ใช้โครงสร้างไม้ ส่วนช่วงที่ 3 ใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณในการสร้าง และมีรูปแบบที่พักอาศัยชั่วคราวทั้งหมด 5 รูปแบบ ดังนี้คือ คือ เรือนแถวสังกะสี 1 ชั้น, เรือนแถวสังกะสี 1 ชั้น หันหลังชนกัน, เรือนแถวสังกะสี 2 ชั้น ,เรือนแถวสังกะสี 2 ชั้น หันหลังชนกัน และเรือนแถวสังกะสี 2 ชั้น หันหลังชนกัน ระบบกึ่งสำเร็จรูป จากการศึกษา พบว่าแนวทางในการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยก่อสร้างชั่วคราวในช่วงที่ 1 บริษัทฯ ไม่ได้มีการควบคุมรูปแบบการก่อสร้างให้เป็นไปตามประกาศกฏกระทรวงสาธารณะสุข ที่ 6/2538 และที่ 7/2538 แต่ในช่วงที่ 2 เป็นต้นมา ได้พัฒนารูปแบบการก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกฏหมาย ส่วนในเรื่องการเปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐานอาคารชั่วคราวของลูกจ้างในกิจการก่อสร้าง ของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ก็พบว่า ในช่วงที่ 1 จะต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ในช่วงที่ 2 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับการสร้างที่พักคนงานก่อสร้างคือ ขนาดที่ดินที่จะใช้ในการจัดสร้าง ซึ่งส่งผลต่อการจัดวางผังบริเวณ หรือทิศทางการวางเรือนแถว รวมถึงบริเวณที่ว่าง สำหรับลานกิจกรรม โดยการสร้างที่พักคนงานก่อสร้างในช่วงที่สองเป็นต้นมา ไม่สามารถนำหลักทางสถาปัตยกรรมมาใช้อย่างเต็มที่ แต่ในด้านการก่อสร้างพบว่า งานโครงสร้าง วัสดุบุผิว วัสดุปูทางเดิน ระบบระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม ได้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เช่นการนำโครงสร้างเหล็กมาใช้ในระบบกึ่งสำเร็จรูป การใช้พื้นไม้อัดผสมซีเมนต์ ทำให้ที่พัก มีความแข็งแรงและคงทนมากขึ้นและลดความเสียหายในการรื้อถอน เมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ถึงแม้ว่าเรือนแถวสังกะสี 2 ชั้นระบบดั้งเดิม จะมีราคาค่าก่อสร้างที่ถูกกว่าระบบกึ่งสำเร็จรูป แต่ก็พบว่า ในการนำกลับมาใช้ใหม่ของโครงสร้างนั้น ระบบดั้งเดิมจะสามารถนำกลับมาใช้ได้เพียง 1 – 1.5 โครงการเท่านั้น แต่ขณะที่ระบบกึ่งสำเร็จรูป สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างน้อยถึง 4 โครงการ กลุ่มคนงานก่อสร้างมีความคิดเห็นว่าการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยโดยรวมดีขึ้น กลุ่มผู้รับเหมาช่วง มีความคิดเห็นการสร้างในระบบกึ่งสำเร็จรูปสามารถสร้างได้รวดเร็ว มีความทนทาน อีกทั้งง่ายในการรื้อถอน และสามารถนำวัสดุส่วนใหญ่กลับมาใช้ใหม่ได้ กลุ่มผู้ควบคุมงานคิดเห็นว่า ถึงแม้ต้นทุนในการก่อสร้างของระบบกึ่งสำเร็จรูปจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ในระยะยาวก็จะคุ้มค่าที่ได้ลงทุนไป ส่วนผู้ประกอบการเห็นว่า แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงมากกว่าระบบดั้งเดิม แต่ก็แข็งแรง ทนทาน ซึ่งจะคุ้มค่าในระยะยาว โดยในการก่อสร้างจะพบว่า จะช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และการรื้อถอนที่เร็วกว่ารูปแบบดั้งเดิม รวมถึงลดการสูญเสียของวัสดุในขณะรื้อถอน ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าอาจจะเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพและเหมาะสมต่อไปในอนาคต รวมทั้งอาจมีการนำระบบสำเร็จรูปหรือระบบ Box System มาใช้ในการสร้าง หรือพัฒนาไปเป็นตู้คอนเทรนเนอร์ รวมทั้งอาจมีการก่อสร้างที่พักถาวร โดยจัดสร้างเป็นศูนย์รวมที่อยู่อาศัยถาวรสำหรับบุคลากรของบริษัทฯทั้งหมด-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to investigate the development of temporary housing for itinerant construction workers and the attitudes of people involved as well as entrepreneurs’ practices in developing such housing. The sample of the study is West Con Co., Ltd.’s temporary houses. Data were collected from 1985 to 2006, which could be divided into three stages. In the first two stages, wooden structures were used for construction, whereas in the last stage, steel structures were used. In addition, the houses, all built from galvanized iron, could be classified into five forms: 1) one-storey row houses, 2) two rows of one-storey houses with contact rears, 3) two-storey row houses, 4) two rows of two-storey houses with contact rears, and 5) two rows of two-storey semi-fabricated houses with contact rears. A further analysis of the development of West Con’s temporary housing revealed that during the first stage, the company did not control its construction to conform to Ministry of Public Health Orders no. 6/1995 and 7/1995. However, from the second stage onwards, compliance became its practice. Similarly, this pattern of development was also found when West Con’s temporary houses were analyzed in relation to the Ministry of Labor and Social Welfare orders. Second, the most important factor affecting West Con’s temporary housing management was the size of land available as this governed its layout plan and the positioning of house directions as well as the arrangement of areas for recreational activities. From the second stage onwards, the company was so constrained by this limitation that it could not follow architectural principles fully. On the other hand, the constructions of temporary houses showed better development. For example, the use of semi-fabricated steel structures and plywood in combination with cement increased the durability of the houses and reduced damage caused by disassembling for reuse. Also, the drainage system and toilets demonstrated improvements. Third, in terms of the forms of construction, although the traditional two-storey houses built from galvanized iron were less costly than the semi-fabricated houses, the former could be reused only 1 to 1.5 times while the latter could be reused at least four times. As regards the attitudes of the people involved, the construction workers said that the semi-fabricated houses were better than the traditional two-storey houses; the subcontractors said that the semi-fabricated houses were quick to build, durable, easy to disassemble, and efficient for reuse; the foremen said that despite their higher construction costs, the semi-fabricated houses were cost-efficient in the long run; the entrepreneurs said that although more costly than the traditional houses, the semi-fabricated houses were more durable, more cost-efficient in the long run, quicker to build and disassemble, and less damaged during disassembling. The following suggestions were made. First, better-quality construction materials should be used. Second, the pre-fabricated house, the container house, or the box system may be an efficient option. Finally, a permanent house may be built for all the staff of the company.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.435-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานก่อสร้าง:กรณีศึกษา ที่พักอาศัยชั่วคราวของคนงานก่อสร้าง บริษัท เวสท์คอน จำกัด กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe development of temporary housing for itinerant construction workers: A case study of West Con Co.,Ltd., Bangkok Metropolitanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเคหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.435-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chakkrid_kh_front.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch1.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch2.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch3.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch4.pdf15.31 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch5.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_ch6.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Chakkrid_kh_back.pdf29.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.