Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41519
Title: สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Mental health and related factors of perioperrative nurse at a Public Hospital in Bangkok
Authors: ชุติกาญจน์ มณีผ่อง
Advisors: พวงสร้อย วรกุล
ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 124 คน โดยเก็บทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลด้านการทำงาน แบบทดสอบบุคลิกภาพ MPI (Maudsley Personality Inventory) และแบบวัดสุขภาพจิตTMHI - 66 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, Chi-Square test, One Way ANOVA, Pearson Correlation, LSD, Stepwise Multiple Regression analysis ผลการวิจัยพบว่า สุขภาพจิตของพยาบาลห้องผ่าตัดอยู่ในเกณฑ์ของคนปกติทั่วไปคิดเป็นร้อยละ47.6 เป็นผู้มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 28.2 และเป็นผู้มีสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์ของคนปกติทั่วไป ร้อยละ 24.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต ได้แก่ บุคลิกภาพแบบ E-Scale และ บุคลิกภาพแบบ N-Scale โดยมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน และ สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 เมื่อนำปัจจัยต่างๆ มาทำการวิเคราะห์โดย Stepwise Multiple Regression Analysis พบว่า ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลห้องผ่าตัด ได้แก่ บุคลิกภาพแบบอารมณ์อ่อนไหว และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน
Other Abstract: This research was a cross-sectional study with the objectives to study the mental health and related factors of perioperative nurses at a public hospital in Bangkok. The samples were 124 nurses. Instruments used in collecting datas were divided into four parts: demographic data, job characteristics questionnaire, Maudsley Personality Inventory (MPI) and Thai Mental Health Indicator (TMHI-66). The datas were analyzed by SPSS program such as percentage, means, standard deviation, chi-square test, t-test, Pearson’s coefficient of correlation, and comparison test by LSD and Stepwise Multiple regression analysis. The study found that 47.6% of perioperative nurse had mental health in fair level, 28.2% was in good level and 24.2% was in poor level. E-Scale (Extraversion-Introversion) and N-scale (Neuroticism and Stability) were negatively correlated to the mental health with statistically significant (p<0.05), Relationship among colleagues and job environment were positively correlated to mental health with p<0.05. In conclusion, Neuroticism and job environment were significantly factors in prediction of mental health.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41519
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.157
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.157
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutikarn_ma_front.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_ch2.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_ch3.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_ch4.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_ch5.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Chutikarn_ma_back.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.