Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41558
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปารีณา ศรีวนิชย์ | - |
dc.contributor.author | ชัญญาณ์ภัช ล้อมณีนพรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-03-20T04:14:25Z | - |
dc.date.available | 2014-03-20T04:14:25Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41558 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี ได้กำหนดวิธีการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีไว้เป็นพิเศษเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน แต่จำกัดการบังคับใช้ไว้เฉพาะแก่กรณีที่เด็กนั้นเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ซึ่งแม้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 จะได้บัญญัติหลักเกณฑ์การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลยไว้เพื่อให้ความคุ้มครองจำเลยที่เป็นเด็กโดยเฉพาะ แต่ก็มิได้มีมาตรการพิเศษดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีอยู่จึงยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิและสภาพจิตใจของเด็กที่เป็นจำเลยซึ่งอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากกระบวนการสืบพยานไม่ต่างไปจากกรณีเด็กเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ซึ่งหากเด็กต้องเบิกความในสภาพจิตใจที่ไม่ปกติ ย่อมส่งกระทบต่อการตอบคำถามของเด็กในการสืบพยานด้วย จึงมีความจำเป็นต้องนำหลักเกณฑ์การสืบพยานที่เป็นเด็กตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี มาใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยเด็กอ้างตนเองเป็นพยานด้วย เพื่อให้การคุ้มครองแก่เด็กที่เป็นจำเลยโดยเท่าเทียมกับเด็กที่เป็นผู้เสียหายและพยาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดมาตรการในสืบพยานที่เป็นเด็กไว้หลายวิธีการประกอบกับปัญหาคดีที่คั่งค้างในระบบจำนวนมาก การจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้บังคับแก่กรณีเด็กเป็นจำเลยด้วยจึงต้องจำกัดเฉพาะมาตรการและกรณีที่จำเป็นต่อการให้ความคุ้มครอง ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองเด็กในกระบวนการสืบพยานของต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฟิลิปปินส์ พบว่า ยังมีมาตรการพิเศษอื่นๆ ที่ไม่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายไทย รวมถึงเงื่อนไขในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่น่าจะเหมาะสมต่อการให้ความคุ้มครองเด็กโดยไม่ส่งผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรมโดยรวม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี ให้สามารถคุ้มครองได้ทั้งสวัสดิภาพของเด็กและประโยชน์แห่งความยุติธรรม | en_US |
dc.description.abstractalternative | Thailand’s Criminal Procedure Code Section 172 tri provides the extra witness examination methods for protecting a child witness whose age is not over eighteen years old, but limits the use of such methods only for the child victim or witness. Although Thailand also has the Juvenile and Family Court and the Procedure of Juvenile and Family Litigation Act B.E. 2553 which provides the procedure of the criminal case that an accused is a juvenile, it does not provide the extra methods as provided in the Criminal Procedure Code. Thus, the existing rules of Thai laws are not sufficient for protecting the rights and mental condition of a juvenile accused which may be violated and affected by the witness examination proceeding as well as the child victim’s and witness’. When a child with the unusual mental state has to testify, his testimony may be inaccurate. Consequently, it is necessary to apply the provided child witness examination methods with the witness examination of a juvenile accused in order to provide an equal protection for a juvenile accused and child victim and witness. However, since there are several of such methods provided and the abundant number of undecided cases, the application of those methods must be limited only in the necessary instances. Therefore, this thesis suggests the appropriate ways to improve Thai law in order to protect both the juvenile welfare and the interest of justice. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1209 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน -- พยาน | en_US |
dc.subject | เด็ก -- การคุ้มครอง -- จำเลย | en_US |
dc.subject | วิธีพิจารณาเด็กและเยาวชน | en_US |
dc.subject | พยานบุคคล -- การคุ้มครอง | en_US |
dc.subject | พยานเด็ก -- การคุ้มครอง | en_US |
dc.subject | วิธีพิจารณาความอาญา | en_US |
dc.subject | ศาลคดีเด็กและเยาวชน | en_US |
dc.subject | Witnesses -- Protection | en_US |
dc.subject | Child witnesses -- Protection | en_US |
dc.subject | Criminal procedure | en_US |
dc.subject | Juvenile courts | en_US |
dc.title | การคุ้มครองจำเลยที่เป็นเด็กและเยาวชนกรณีอ้างตนเองเป็นพยาน | en_US |
dc.title.alternative | The protection of juvenile defendant offring himself as a withness on the criminal trial | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | pareena.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1209 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanyapat_lo.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.