Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41701
Title: ปราชญ์ชาวบ้านกับกระบวนการเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของเกษตรกร : กรณีศึกษา มหาชีวาลัยอีสาน
Other Titles: Local wisdom leaders and capacity building process for self-reliance of agriculturists : A case study of mahashevalai Isan
Authors: รานี บำเพ็ชร
Advisors: นฤมล บรรจงจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสานกับมหาชีวาลัยอีสาน ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของมหาชีวาลัยอีสาน 3) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรเกี่ยวกับการพึ่งตนเองเมื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพกับมหาชีวาลัยอีสาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บตัวอย่างข้อมูลเชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่ตั้งแต่ เดือนเมษายน พ.ศ.2548-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ผลการศึกษาพบว่า 1) เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสานกับมหาชีวาลัยอีสานมีความสัมพันธ์จากการมีเป้าหมายเดียวกัน โดยมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการติดต่อสื่อสารกัน 2) วิธีการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของมหาชีวาลัยอีสาน มี 4 ขั้นตอน คือ 1.การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 2.การสร้างความรู้และการปรับแนวคิด 3.การสร้างพันธมิตรและแนวร่วม 4.การเผยแพร่และขยายผลความรู้ 3) การเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพกับมหาชีวาลัยอีสานได้ทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิตของตน จากการผลิตเกษตรแบบเชิงเดี่ยวเป็นการผลิตแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งได้ทำให้เกษตรกรบางส่วนก้าวไปสู่การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น
Other Abstract: The objectives of this thesis are, firstly, to study the relationship among leaders of local wisdom network, the northeastern multi-lateral partnership and Mahashevalai Isan in building self-reliance in the learning process. Secondly, to study the learning process for the development of self-reliance potential by using the sufficiency economy of Mahashevalai Isan. Thirdly, to study the behavior change of the agriculturists on the adoption self-reliance methods after participating in the capacitybuilding process of Mahashevalai Isan. The study was carried out using qualitative research methods including in-depth Interview and focus group discussions starting form April 2005 to Febuary 2007. The results of the study show that (1) The local wisdom network, the northeastern multi-lateral partnership and Mahashevalai Isan have share the same goals and objectives. They adopted a similar learning process and communicated with each other. (2) The adoption of sufficiency economy in the learning process to develop self-reliance potential at the Mahashevalai Isan included four components : development of learning skills ; conceptual transformation and knowledge building ; alliance and co-operation building ; and dissemination and replication of knowledge. (3) After participating in the capacity-building process of Mahashevalai Isan , agriculturists have changed their thinking and practice from monocropping to integrated agricultural production through the practical experience and interactive learning process. So far , some of them have become more self-reliance in economic aspect.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41701
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ranee_bu_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_ch1.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_ch2.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_ch3.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_ch4.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_ch5.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Ranee_bu_back.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.