Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41738
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุษฎี ชาญลิขิต
dc.contributor.authorบังอร คำหลอม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-23T06:30:22Z
dc.date.available2014-03-23T06:30:22Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41738
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ก็เพื่อการวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานีโดยการประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อหาที่เหมาะสมด้านอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามแนวนโยบายและวิสัยทัศน์ของจังหวัดได้ วิธีการดำเนินการวิจัย เริ่มตั้งแต่การศึกษางานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมจากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้วยการออกแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ให้ค่าคะแนนและค่าลำดับความสำคัญของปัจจัยที่กำหนดขึ้น แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ด้วยวิธีการนี้จะได้ค่าลำดับความสำคัญของปัจจัย ภายหลังนำค่าปัจจัยนั้นมาสู่กระบวนการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับโรงงานแต่ละจำพวก ได้แก่ โรงงานจำพวกที่ 1 (โรงงานขนาดเล็ก) โรงงานจำพวกที่ 2 (โรงงานขนาดกลาง) และโรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานขนาดใหญ่) โดยการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของจังหวัด ผลการวิเคราะห์โดยเกณฑ์ของผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปได้ว่า พื้นที่เหมาะสมสำหรับโรงงานจำพวกที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 36.10 พื้นที่เหมาะสมสำหรับโรงงานจำพวกที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 36.18 ส่วนโรงงานจำพวกที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 22.58 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของจังหวัดกลับพบว่ามีพื้นที่เหมาะสมสำหรับโรงงานจำพวกที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 24.78 โรงงานจำพวกที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 24.99 และโรงงานจำพวกที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 3.86 ของพื้นที่ทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจึงสรุปได้ว่าพื้นที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่เหมาะสำหรับโรงงานจำพวกที่ 1 และโรงงานจำพวกที่ 2
dc.description.abstractalternativeThe objective of the study is to analyze future suitable industrial areas that help meet the requirement of provincial policies and provincial visions in Changwat Pathum Thani using an analytical hierarchy process approach (AHP) and a geographic information system (GIS). To begin with, the author starts collecting literature reviews of the analysis of suitable area and secondary data collection; the data comprise existing attribute data and graphic data the primary data collection is mainly based on questionnaires which have been scored by experts who determine the score and set the priority of normalize variables. The data have been processed by means of AHP. The normalize weights have been input to GIS; with the help of ArcView 3.2 program, the future suitable industrial areas in accordance with provincial policies and provincial vision of all 3 industrial categories are executed. The categories are divided into 3 types as follows: type 1 (a small-scale industrial type), type 2 (a medium-scale industrial type), and type 3 (a large-scale industrial type). The results using experts’ criterion can be concluded as follows: a small-scale industrial type 1: the suitable area is at 36.10 %; A medium-scale industrial type 2, the suitable area is at 36.18 %; and a large-scale industrial type 3: the suitable area is at 22.58 % of the study area. In addition, according to provincial policies and provincial vision, the results are disclosed that a small-scale industrial type 1, suitable area is at 24.78 %; a medium-scale industrial type 2, suitable area is 24.99%; and suitable area in large industrial, type 3 is at 3.86%. The results also lead to the conclusion that the most suitable areas for industrial in Changwat Pathum Thani are a small-scale industrial type 1 and a medium-scale industrial type 2.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeAn analysis of suitable areas for industrial development in Changwat Pathum Thanien_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bangon_kh_front.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch1.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch2.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch3.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch4.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch5.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_ch6.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Bangon_kh_back.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.