Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41748
Title: ปัญหาการโอนความเสี่ยงภัยตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546
Other Titles: The passing of risk under the derivatives ACT B.E.2546 (2003)
Authors: ฤทัยรัตน์ ติยะวัชรานนท์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 นั้น มีการกำหนดชนิดของสินค้าไว้ 3 ประเภท ได้แก่ สินค้าประเภทหลักทรัพย์, ทองคำ และน้ำมันดิบ โดยในปัจจุบันได้เปิดให้มีการซื้อขายสินค้าประเภทหลักทรัพย์ ที่เรียกว่า Set 50 Index เท่านั้น ส่วนสินค้าประเภททองคำ และน้ำมันดิบ นั้นคาดว่าหลังจากที่มีการกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะนำเข้ามาทำการซื้อขายในตลาดอย่างแน่นอน ทั้งนี้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 มีทั้งเพื่อส่งมอบสินค้าในอนาคต และเพื่อการเก็งกำไรรวมทั้งเฉลี่ยความเสี่ยงจากสินทรัพย์อ้างอิง สำหรับการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบสินค้านั้นนอกจากจะมีปัญหาในเรื่องความซับซ้อนเพราะประกอบด้วยองค์กร และองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมายหลายประการแล้ว ปัญหาที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาเรื่องการโอนความเสี่ยงภัย ซึ่งมิได้มีการกำหนดไว้ในข้อบังคับของตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นปัญหาสำหรับการทำสัญญาซื้อขายสินค้าประเภทหลักทรัพย์ เพราะเป็นการซื้อขายที่โดยสภาพแล้วไม่มีการส่งมอบตัวสินค้า แต่ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำและน้ำมันดิบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเป็นการซื้อขายที่โดยสภาพอาจต้องมีการส่งมอบสินค้ากัน จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การโอนความเสี่ยงภัยที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ และน้ำมันดิบ ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 ได้แก่ กำหนดให้ความเสี่ยงภัยโอนพร้อมกรรมสิทธิ์ กำหนดให้ความเสี่ยงภัยโอนพร้อมการส่งมอบสินค้า กำหนดให้ความเสี่ยงภัยโอนตามแบบจารีตประเพณีทางการค้า และกำหนดให้ความเสี่ยงภัยโอนตามแบบวิธีการของคลังสินค้า ซึ่งหากมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องการโอนความเสี่ยงภัยไว้ในข้อบังคับของตลาดอนุพันธ์ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 แล้ว จะสามารถรองรับและแก้ปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในเรื่องของการโอนความเสี่ยงภัยในการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย ทั้งยังสามารถก่อให้เกิดความชัดเจน และความยุติธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกฝ่ายอันจะเป็นการส่งเสริมการซื้อขายในตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
Other Abstract: The making of a futures contract under the Derivatives Act, B.E. 2546 (2003) has divided the types of the goods into 3 categories which are SET 50 Index, gold, and crude oil. Nowadays the SET 50 Index is the only type that is available for trading in the futures market. As for the gold and crude oil, they are expected that after various rules and regulations have been specified they would definitely be in the market for purchase. The making of a futures contract according to the Derivatives Act, B.E. 2546 (2003) includes the case of delivering the goods in the future and in the case of the future profit and balancing out the risk from the underlying asset. As for the futures contract for delivering the goods besides having the complication because it involves organizations and many related factors, one of the significant issues is the issue of the passing the risk which has not been specified in the regulations of the Thailand Futures Exchange. Even though, it does not pose any problems in making the contract of SET 50 Index because it is the transaction which does not require the delivery of the goods but it is considered to be a significant problem of the futures contract of gold and crude oil that might happen in the future because they are contracts which might require an actual delivery. From the study it was discovered that the criteria of the passing the risk that is appropriate and consistent with the form of making the futures contract of gold and crude oil according to the Derivatives Act, B.E. 2546 (2003) is by specifying that the risk is transferred at the same time as the ownership, by specifying that the risk is passed along with the delivery, by specifying that the risk is passed according to the commercial norms and by specifying that the risk is passed along according to the method of the warehouse. If there is any augmentation in the provisions regarding the passing of the risk in the regulations of the Thailand Futures Exchange under the Derivatives Act, B.E. 2546 (2003), it can, in a way, support and solve a legal problem that might happen regarding the passing of the risk in the making of a futures contract and it can also create the clarity and the justice to every related party, which would be beneficial to the dealings in the future goods market and it would also advantageously effect the economic system.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41748
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruethairat_ti_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch1.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch2.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch3.pdf10.8 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch4.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch5.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_ch6.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Ruethairat_ti_back.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.