Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42202
Title: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและจำแนกสายพันธุ์เชิงชีวโมเลกุลของเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2552-2555
Other Titles: Molecular epidemiology and characterization of human adenovirus infection in Thailand, 2009-2012
Authors: พรรษินี ศรีวรรณา
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: yong.P@chula.ac.th
Subjects: อดีโนไวรัส -- ไทย
โรคอดีโนไวรัส -- การติดเชื้อ -- ไทย
ระบาดวิทยาเชิงโมเลกุล
Adenoviruses -- Thailand
Adenovirus diseases -- Infections -- Thailand
Molecular epidemiology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้หลากหลายโรค งานวิจัยนี้ได้ศึกษาระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและจำแนกสายพันธุ์เชิงชีวโมเลกุลของเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสของกลุ่มประชากรในประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนธันวาคม 2555 โดยวิธีเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสชนิดนี้ด้วย Polymerase Chain Reaction โดยศึกษาจากสิ่งส่งตรวจสองชนิดคือ 1.) น้ำล้างโพรงจมูกและสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.) สิ่งส่งตรวจที่เป็นอุจจาระจากจังหวัดกรุงเทพและจังหวัดขอนแก่น พบว่าในสิ่งส่งตรวจจากน้ำล้างโพรงจมูกและสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกตรวจให้ผลบวกต่อเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัส 1.04% (82/7,921) และในสิ่งส่งตรวจจากอุจจาระให้ผลบวกต่อเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัส 5.84% (76/1,301) HAdV-B3 (32%) และ HAdV-C1(31%) พบมากในสิ่งส่งตรวจจากระบบทางเดินหายใจ ในการศึกษาครั้งนี้ รองลงมาคือ HAdV-C2 (13%), HAdV-C5 (12%) ในขณะที่ HAdV-F41 พบมากในสิ่งส่งตรวจจากอุจจาระถึง 25% และมีจีโนไทป์อื่นได้แก่ HAdV-C1 18%, HAdV-C2 16%, HAdV-B3 13% เด็กในช่วงวัย 0 - <3 ขวบ พบว่ามีอัตราการติดเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสมากที่สุด (63.29%) การติดเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสไม่ขึ้นกับฤดูกาลสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี แต่ในสิ่งส่งตรวจจากน้ำล้างโพรงจมูกและสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้สูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน สำหรับสิ่งส่งตรวจจากอุจจาระนั้นอัตราการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้สูงสุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จึงแนะนำให้เฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อฮิวแมนอะดิโนไวรัสในเด็กวัยขวบปีแรก และในอนาคตควรที่จะเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลในด้านระบาดวิทยาของไวรัสชนิดนี้สำหรับใช้ในการพัฒนาวัคซีนต่อไป
Other Abstract: Human adenovirus (HAdV) can cause a wide spectrum of human diseases worldwide. Using Polymerase chain reaction, This study investigated HAdV infection prevalence in the Thai population for four years from January 2009 to December 2012. Nasopharyngeal swab/aspirate (NP) specimens were collected from patients in Bangkok, Khon Kaen, and Nakhon Si Thammarat province and fecal specimens were collected from Bangkok and Khon Kaen province. HAdV infection was found in 1.04% (82/7,921) of NP samples and in 5.84% (76/1,301) of fecal specimens. HAdV-B3 (32%) and HAdV-C1 (31%) were the genotypes most commonly associated with NP specimens followed by HAdV-C2 (13%) and HAdV-C5 (12%). In fecal specimens, we found that 25% harbored HAdV-F41 followed by HAdV-C1 (18%), HAdV-C2 (16%), HAdV-B3 (13%). Out of all population subsets, children younger than 3 years old were the most likely to be HAdV positive (63.29%). In addition, HAdV infection occurred throughout the year without a seasonal distribution pattern, although HAdV infection of NP samples peaked from January-April while HAdV infection peaked from January to March and then again from May to July in fecal samples. We recommend that the study of HAdV infection in this region should be increased in order to provide increased epidemiological information that can be applied to novel therapeutic approaches and vaccine development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42202
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.725
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punsinee_sr.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.