Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42204
Title: | การเปรียบเทียบระหว่างการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดกับการฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่งของนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง |
Other Titles: | A comparison between the weighted jump training and jump training with elastic resistance with pulley on peak power of vertical jump in youth female volleyball players |
Authors: | พันธ์วดี อินทรมณี |
Advisors: | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | chalerm.c@chula.ac.th |
Subjects: | ผู้เล่นวอลเลย์บอลหญิง วอลเลย์บอล -- การฝึก พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง) Women volleyball players Volleyball -- Training Plyometrics |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตุถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการฝึกแบกน้ำหนักกระโดด และการฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกที่มีผลต่อพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่งของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงของโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 16 – 18 ปี จำนวน 22 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการทดสอบพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่ง (Peak power of vertical jump) เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 11 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกแบกน้ำหนักกระโดดด้วยระดับความหนัก 20 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็ม กลุ่มที่ 2 ฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบลูกรอกด้วยระดับความหนัก 20 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็ม ใช้ระยะในการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน ทำทดสอบพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่ง และความแข็งแรงสัมพัทธ์ของกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ถ้ามีความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกมีการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่ง และความแข็งแรงสัมพัทธ์ของกล้ามเนื้อขาสูงกว่ากลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบมีลูกรอก และกลุ่มฝึกแบกน้ำหนักกระโดดมีการพัฒนาพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่ง และความแข็งแรงสัมพัทธ์ของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้นภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัยได้ว่า การฝึกกระโดดด้วยยางยืดแบบมีลูกรอกด้วยระดับความหนัก 20 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็ม มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ฝึกเพื่อพัฒนาพลังกล้ามเนื้อสูงสุดในการกระโดดแนวดิ่งของนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิงได้ดีกว่าการฝึกแบกน้ำหนักกระโดด ด้วยระดับความหนัก 20 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็ม |
Other Abstract: | The purpose of this study was to compare between the weighted jump training and jump training with elastic resistance with pulley on peak power of vertical jump in youth female volleyball players. Twenty two female between ages of 16 – 18 year old from Bangkok Sport School were purposively sample to be subject in this study. The first experimental group trained by weighted jump with a load of 20% 1RM. The second experimental group trained by jump training with elastic resistance with pulley with a load of 20% 1RM. The experimental groups were trained twice a week for eight week. The pre-training, after the 4th and the 8th week of training measures included : the peak power of vertical jump and leg muscular relative strength. The obtained data were analyzed in term of means, standard deviation, t-test and one way analysis of variance with repeated measure and multiple comparisons by Bonferroni were also employed for statistical significance. The statistical significance of this study was accepted at p<.05. The results were as follow: 1. The peak power of vertical jump and leg muscular relative strength in the jump training with elastic resistance with pulley was significantly better than weighted jump training at the .05 level. 2. The jump training with elastic resistance with pulley and weighted jump training increase peak power of vertical jump and leg muscular relative strength after the 4th and the 8th week of training were significant better than pre-training at the .05 level. The jump training with elastic resistance with pulley with a load of 20% 1RM is optimized for training to improve peak power of vertical jump better than weighted jump training with a load of 20% 1RM. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42204 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.735 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.735 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
punwadee_in.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.