Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42372
Title: | การพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายต้นแบบในห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ |
Other Titles: | Development of a wireless communication system prototype for students with hearing impairment using bluetooth technology |
Authors: | อาภา สุวรรณรัตน์ |
Advisors: | เศรษฐา ปานงาม พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Setha.P@Chula.ac.th No information provided |
Subjects: | ความบกพร่องทางการได้ยิน เทคโนโลยีบลูทูธ ระบบสื่อสารไร้สาย Hearing impaired Bluetooth technology Wireless communication systems |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินแล้ว ระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเอฟเอ็มเป็นระบบการสื่อสารไร้สายระบบหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน แต่ระบบเอฟเอ็มก็มีข้อเสียสำคัญ คือไม่ทนทานต่อสัญญาณรบกวน ประกอบกับคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการของเทคโนโลยีบลูทูธ ได้แก่ ทนทานต่อสัญญาณรบกวน ใช้พลังงานต่ำ และราคาถูก รวมถึงความแพร่หลายในการใช้งานเทคโนโลยีบลูทูธในปัจจุบัน งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอการนำออกแบบและพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนต้นแบบด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ โดยระบบต้นแบบถูกพัฒนาให้เป็นเรียลไทม์แอพพลิเคชันที่ใช้ช่องสัญญาณ ACL ในการส่งข้อมูลเสียงผ่านทางชั้นการทำงาน L2CAP จากการทดลองพบว่า เทคโนโลยีบลูทูธสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายในห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินได้ สำหรับจำนวนอุปกรณ์ลูกข่ายในพิโคเน็ต(piconet) ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีบลูทูธนั้น สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์แม่ข่ายให้สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนในห้องเรียนซึ่งพิโคเน็ตใช้เวลาในการส่งข้อมูลเสียงต่ำกว่าการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ลูกข่ายด้วยการเชื่อมต่อแบบ Scatternetและสามารถรองรับการทำงานที่ระยะสูงสุด 12 เมตร |
Other Abstract: | For Students with hearing impairment, Assistive Listening Systems (ALSs) is an important system used to make dialogue accessible in classroom environment. FM system is one of the widely used ALS which is named by the method of signal transmission. The major disadvantage of FM system is that it is subject to interference from other sources. The key features of Bluetooth wireless technology are robustness, low power and low cost. Also with the popularity of Bluetooth, this research aims to design and develop an ALS prototype for students with hearing impairment using Bluetooth technology. The prototype is a real-time application that uses ACL channel to send audio data via L2CAP layer. The result shows that it is possible to develop Bluetooth ALS which produces audible sound from one teacher to seven students. The limitation of number of Bluetooth connections can be overcome by using more than one transmitter forming a piconet according to the number of students. Transmission by a piconet gives lower latency than by a scatternet. In addition, the prototype can support the maximum transmission range of 12 meters. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42372 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.993 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.993 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
arpa_su.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.