Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42379
Title: | Species, distribution and status of dolphins in the inner Gulf of Thailand |
Other Titles: | ชนิด การกระจาย และสถานภาพของโลมาในอ่าวไทยตอนใน |
Authors: | Somchai Mahakunlayanakul |
Advisors: | Suraphol Sudara |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | No information provided |
Subjects: | Porpoises Dolphins -- Spermatozoa -- Morphology Morphology (Animals) โลมา อ่าวไทย |
Issue Date: | 1996 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | จากการศึกษาโลมาในอ่าวไทยตอนในรูปตัว ก ในปัจจุบันพบโลมา 4 ชนิด คือ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ, Necphocaena phocaenoides, โลมาหัวบาตร ; Orcaella brevirostris, โลมาเผือก, Sousa chinensis และโลมาปากขวด, Tursiops truncatus โลมาหัวบาตรมักอาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่ง แต่โลมาหัวบาตรหลังเรียบมักพบบริเวณที่ห่างจากปากแม่น้ำมากกว่า โลมาเผือกเป็นโลมาที่สามารถพบเห็นได้บ่อยบริเวณปากแม่น้ำ แต่ก็สามารถพบไกลฝั่งออกไปเช่นเดียวกัน โลมาอีกชนิดหนึ่งคือโลมาปากขวด มักอาศัยไกลฝั่งออกไป โดยเฉพาะบริเวณเกาะต่างๆ จากการศึกษาความสามารถในการว่ายเข้าแม่น้ำของโลมา ในอดีตพบว่ามีผู้พบเห็นโลมาหัวบาตรว่ายเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ถึง 85 กิโลเมตร ที่บริเวณเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสามารถเข้าแม่น้ำบางปะกงได้ถึง 60 กิโลเมตร บริเวณตลาดอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังพบโลมาปากขวดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 30 กิโลเมตรซึ่งถูกยิงตายและยังคงมีซากเก็บไว้ แต่ในปัจจุบันไม่มีการพบเห็นโลมาในแม่น้ำอีกนอกจากการเข้าแม่น้ำเพียง 2-3 กิโลเมตรของโลมาเผือก และเป็นโลมาเพียงชนิดเดียวที่พบว่าสามารถว่ายเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง โลมาอีกชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถพบได้ในปัจจุบัน หรือ อาจมีประชากรอยู่น้อยมากในบริเวณอ่าวไทยตอนในคือ โลมากระโดดเนื่องจากแทบจะไม่มีผู้พบเห็นโลมาชนิดนี้เลยในปัจจุบันแต่มีซากสตัฟฟ์เป็นจำนวนมากในแถบนี้ โลมาหัวบาตรหลังเรียบเป็นโลมาที่ได้ทำการศึกษาซากใหม่มากที่สุด โลมาหัวบาตรหลังเรียบเพศผู้ขนาดใหญ่ที่สุดในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความยาว 141 เซนติเมตร และพบว่าโลมาเพศเมียยาว 133 เซนติเมตร กำลังอยู่ในช่วงการให้นมลูก อาหารของโลมาหัวบาตรหลังเรียบที่พบในกระเพาะอาหาร คือ ปลาหมึก ปลาและกุ้ง จากการศึกษาเรื่องโลมาของนักวิทยาศาสตร์ชาวต่างประเทศหลายท่านที่พยายามจะแยกชนิดของโลมาทั้ง 5 ชนิดให้เป็นชนิดใหม่ จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าโลมากระโดดแบบแคระเพียงชนิดเดียวที่ควรจะแยกเป็นชนิดใหม่จากโลมากระโดดที่พบที่แหล่งอื่นๆ ของโลก เนื่องจากมีสัดส่วนต่างๆ เล็กมากและที่สำคัญ มีจำนวนฟันน้อยกว่าโลมากระโดดจากที่อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด |
Other Abstract: | In the inner Gulf of Thailand there are four species of porpoise and dolphins, one species of porpoise, Neophocaena phocaenoides ; finless porpoise and three species of dolphins Orcaella brevirostris ; Irrawaddy dolphin, Sousa chinensis ; Indo-Pacific humpback dolphin and Tursiops truncatus ; bottlenose dolphin. O. brevirostris inhabited only shallow and brackish water, while N. phocaenoides prefered away from estuaries. Both can be found along the coast of the inner Gulf of Thailand except Pattaya and the lower part of the east coast. S. chinensis was commonly found almost all estuaries although it could sometimes be seen offshore. T. truncatus usually found offshore, around every islands but sometimes found along the coastline. Intrusion of O. brevirostris in Chao Phraya River were recorded at Ko Kret, 85 km. from river mouth thirty years ago while T. truncatus were found only 30 km. O. brevirostris found to get in 60 km. from Bang Pakong River mouth in 1967. At present, S. chinensis is seen almost every rivers about travel only few km from the mouth and it is only one species found in the Mae Klong and Ta Chin River. S. longirostris has very small population if not gone from the study area. The largest male N. phocaenoides was 141 cm. in length and 133 cm for largest female which was in lactation period were caught in August. Cephalopods, crustaceans and fisher were found to be food of finless porpoise. Exception for S. longirostris, the others four species could not be separated as new species as suggested by some authors because their differences were not distinctively different enough. Spinner dolphin in the Gulf of Thailand should not be considered as S. longirostris because it possesses differences in morphological proportion and obvious less number of teeth. |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1996 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Marine Science |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42379 |
ISBN: | 9746368338 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somchai_Ma_front.pdf | 774.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_ch1.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_ch2.pdf | 789.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_ch3.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_ch4.pdf | 939.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_ch5.pdf | 721.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_Ma_back.pdf | 746.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.