Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42501
Title: การประยุกต์ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าความร้อนและความเย็นร่วมสำหรับการจัดการพลังงานในอาคาร
Other Titles: Application of combined cooling,heating and power to building energy management
Authors: คเณศ ว่องวิษณุพงศ์
Advisors: แนบบุญ หุนเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naebboon.H@Chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การใช้พลังงาน
ไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า
Buildings -- Energy consumption
Electricity
Electric power
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้า ความร้อน และความเย็นร่วมสามารถนำมาใช้ในการจัดการพลังงานในอาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิ อีกทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอขั้นตอนวิธีกำหนดจุดทำงานที่เหมาะสมที่สุดในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า ความร้อน และความเย็นร่วม รายชั่วโมง สำหรับโหลดอาคาร รวมถึงการเพิ่มถังเก็บความร้อน และระบบเซลล์แสงอาทิตย์ผนวกในขั้นตอนการจัดการพลังงาน กำหนดฟังก์ชันจุดประสงค์เพื่อหาค่าใช้จ่ายต่ำสุด โดยพิจารณาเงื่อนไขพิกัดของอุปกรณ์ และเงื่อนไขสมดุลพลังงาน ใช้กำหนดการเชิงเส้นในการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ถูกแสดงในส่วนต่อประสานผู้ใช้ เพื่อแสดงผลให้ผู้ปฏิบัติการสามารถปรับตั้งอุปกรณ์ ณ จุดทำงานที่กำหนด ทดสอบสมรรถนะของระบบจัดการพลังงานกับอาคารห้างสรรพสินค้าตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าระบบจัดการพลังงานที่นำเสนอสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าและความเย็นโดยรวมของอาคารได้ประมาณร้อยละ 12 ต่อปี นอกจากนี้หากมีการขายน้ำเย็นส่วนเกินจากความต้องการของโหลดความเย็นของอาคาร พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 40 ต่อปี
Other Abstract: Combined Cooling Heating and Power (CCHP) can be applied to energy management system in buildings to increase the efficiency of primary energy consumption, as well as to reduce the carbon dioxide emission. This thesis proposes an algorithm to determine optimal hourly scheduling of the CCHP system for building load. Heat storage tank and photovoltaic system are also incorporated into energy management system. The objective function is to minimize total operating costs with the constrains of equipment operating limits and energy balance conditions. The formulated problem is solved by the Linear Programming. The determined operating conditions are displayed on the Graphic User Interface (GUI) to assist the operator to operate such system. Performance verification of the proposed building energy management has been done using power demand of one shopping complex. The results show that the total cost of electrical and cooling energy decreases by 12% per year, and increase to 40% when additional income from selling the surplus cooling water is considered.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42501
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.362
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.362
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanet _Wo.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.