Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4252
Title: การจัดเส้นทางบนพื้นฐานของการคิดราคาในโครงข่ายที่มีผู้ให้บริการหลายราย
Other Titles: Charging-based routing in multi-operator network
Authors: ฉัตรขวัญ วรรณศิริ
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@chula.ac.th
Subjects: โทรคมนาคม -- ต้นทุน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้พิจารณาการวิเคราะห์ปัญหาการจัดเส้นทางที่ดีที่สุดบนโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีผู้ให้บริการหลายรายโดยที่แต่ละรายมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรโครงข่ายของตนเอง และเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายอื่นผ่านทางจุดเชื่อมต่อ วัตถุประสงค์ของงานวิทยานิพนธ์นี้คือ เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ในการจัดเส้นทางซึ่งอนุญาตให้โครงข่ายที่พิจารณาเป็นหลักได้ผลตอบแทนสูงสุดตามฟังก์ชันวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่กำหนด บนโครงข่ายที่มีผู้ให้บริการหลายราย งานวิทยานิพนธ์นี้ยังได้นำเสนอกลยุทธ์ในการจัดเส้นทาง 4 แบบร่วมกับการพิจารณาฟังก์ชันต้นทุนซึ่งคิดทั้งต้นทุนที่เกิดภายในโครงข่ายและต้นทุนในการส่งทราฟฟิกไปยังโครงข่ายอื่นด้วย กลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย 1. การจัดเส้นทางโดยไม่คิดค่าเชื่อมต่อโครงข่าย 2. การจัดเส้นทางโดยพิจารณาจากต้นทุน 3. การจัดเส้นทางโดยพิจารณาจากการใช้ทรัพยากรโครงข่าย และ 4. การประยุกต์จัดเส้นทางแบบพลวัตด้วยวิธีใหม่ในตอนท้ายของงานวิทยานิพนธ์ได้แสดงตัวอย่างการจำลองโครงข่ายเพื่อพิจารณาลักษณะของกลยุทธ์การจัดเส้นทางทั้ง 4 แบบโดยใช้การจำลองแบบเหตุการณ์เต็มหน่วย วิเคราะห์เปรียบเทียบดัชนีชี้วัดผลการจำลองโครงข่ายทั้งในมุมมองของวิศวกรรมศาสตร์ และ ในมุมมองของด้านธุรกิจ (ตัวอย่างเช่น ความน่าจะเป็นในการปฏิเสธการขอเข้าใช้บริการ ค่าอรรถประโยชน์ของโครงข่าย ค่าเฉลี่ยของต้นทุน ค่าเฉลี่ยของรายได้ และ กำไรที่ได้รับ) พบว่า การจัดเส้นทางแบบพลวัตใช้ได้ดี ในขณะที่ปริมาณโหลดอยู่ในช่วงปกติตัวอย่างเช่นค่าความน่าจะเป็นในการปฏิเสธการขอเข้าใช้อยู่ในช่วงไม่เกิน 0.2-0.4 แต่ในทางตรงกันข้ามหากว่าปริมาณโหลดสูงกว่าปกติมากหรือความน่าจะเป็นใน การปฏิเสธการขอเข้าใช้บริการมากกว่า 0.4 ขึ้นไป การจัดเส้นทางโดยไม่คิดค่าเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายจะให้ผลประโยชน์สูงสุดซึ่งหมายความว่าในกรณีนี้ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ต้องการผลกำไรสูงสุดจะกีดกันไม่ให้ผู้บริการรายอื่นมาเชื่อมต่อโครงขายหรือระงับสัญญาณการเชื่อมต่อ ซึ่งหากปล่อยให้กลไกตลาดดำเนินไปในลักษณะนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจึงควรที่จะมีหน่วยงานมากำกับดูแลเพื่อให้กิจการโทรคมนาคมมีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากขึ้น
Other Abstract: This paper is concerned with the analysis of optimal routing problem in the heterogeneous environment of telecommunication networks, where more than one operator is responsible for all the network controls. The objective is to evaluate candidate routing algorithms which allow a given network to optimize specified objective functions. Based on the framework of interconnection, four routing algorithms are proposed, namely, (i) shortest path routing with no interconnection charge, (ii) cost-based shortest path routing with interconnection charge, (iii) resource-based shortest path routing with interconnection charge and (iv) novel generalization of dynamic alternative routing with interconnection charge. Discrete-event simulation of practical network scenarios are given to show how these routing algorithms perform comparatively in terms of both engineering grade-of-service indicators and business measures (i.e. call blocking, network utilization as well as mean values of servicing cost, network revenue and obtainable profit). The obtained results suggest that the dynamic alternative routing with interconnection charge is the most preferable routing algorithm under a wide range of normal loadings, i.e. call blocking probability not greater than 0.2-.0.4. In contrast, under abnormally overloaded conditions with call blocking probability greater than 0.4, it is found that the shortest path routing with no interconnection charge gives the maximum profit. This finding means that operators with more connectivity can reject any connection from other operators to gain their maximum profit. It this market mechanism continues to proceed, then it will adversely effect customers. In this case, a telecommunication regulator is needed to control clearity and equity of telecommunication market
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4252
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1452
ISBN: 9741738889
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1452
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chatkwan.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.