Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42608
Title: | พฤติกรรมการดัดของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้และซ่อมแซมด้วยแผ่น พอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน |
Other Titles: | FLEXURAL BEHAVIOR OF FIRE-DAMAGED REINFORCED CONCRETE BEAMS REPAIRED WITH CARBON FIBER-REINFORCED POLYMER SHEETS |
Authors: | ไกรวุฒิ สาติศากยบุตร |
Advisors: | อัครวัชร เล่นวารี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | akhrawat.l@chula.ac.th |
Subjects: | คานคอนกรีต พลาสติกเสริมเส้นใยคาร์บอน Concrete beams Carbon fiber-reinforced plastics |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสียหายจากการเผาไฟที่ทดสอบตามมาตรฐาน ISO834 ที่ระยะเวลาการเผาไฟ 60, 90 และ 120 นาที และทำการซ่อมแซมภายหลังการเผาไฟด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) การทดสอบกระทำภายใต้การดัดแบบสี่จุดที่มีความยาวช่วงคานเท่ากับ 1.8 เมตร การทดสอบชุดแรกประกอบด้วยคานทดสอบจำนวน 10 ตัวอย่าง โดยคานทดสอบมีขนาดหน้าตัด 15 x 30 เซนติเมตร มีปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงเท่ากับ 1.03%, ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเท่ากับ 25 เซนติเมตร และกำลังรับแรงอัดประลัยของคอนกรีตเท่ากับ 309.6 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร การทดสอบชุดที่สองประกอบด้วยคานทดสอบจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยคานทดสอบมีขนาดหน้าตัด 15 x 30 เซนติเมตร มีปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงเท่ากับ 1.03%, เปอร์เซ็นต์ ระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเท่ากับ 25 เซนติเมตร และกำลังรับแรงอัดประลัยของคอนกรีตเท่ากับ 412.9 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนที่เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการวิบัติจากแรงเฉือนที่พบจากการการทดสอบคานในชุดทดสอบที่ 1 จากผลการทดสอบทั้งสองครั้งพบว่า กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตทรงกระบอกลดลง กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของคานมีค่าลดลงตามระยะเวลาในการเผาไฟที่นานขึ้น และการซ่อมแซมคานตัวอย่างที่ได้รับความเสียหายจากไฟด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนไม่มีผลต่อค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของคานตัวอย่างเนื่องจากเกิดการวิบัติแบบหลุดล่อน เนื่องจากคานตัวอย่างของการทดสอบชุดที่ 1 วิบัติแบบเฉือน และแบบจำลองวิเคราห์หน้าตัดลดลงโดยวิธีอุณหภูมิระดับ 500 ºC (500 ºC Isotherm Method) ทำนายเฉพาะการวิบัติแบบดัด ทำให้ไม่สามารถทำการเปรียบเทียบได้ จึงเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองและผลการทดสอบชุดที่ 2 เท่านั้น พบว่า การทำนายน้ำหนักบรรทุกสูงสุด แบบจำลองขอบเขตล่างมีค่าความแตกต่างจากการทดสอบเท่ากับ 15.77 เปอร์เซ็นต์ และการทำนายระยะการโก่งตัวที่ตำแหน่งกึ่งกลางคาน แบบจำลองขอบเขตบนแตกต่างจากการทดสอบเท่ากับ 31.42 เปอร์เซ็นต์ |
Other Abstract: | This research investigates the behavior of fire-damaged reinforced concrete beams tested in accordance with ISO834 standard for 60, 90 and 120 minutes and then repaired by CFRP sheets. All beam specimens were simply supported with a span length of 1.80 m and subjected to four-point bending. The first series consists of 10 specimens with the cross section of 15 cm x 30 cm, reinforcement ratio of 1.03%, concrete covering of 2.5 cm, and average compressive strength of 309.6 kg/sq.cm. The second series consists of 5 specimens with the cross section of 15 cm x 30 cm, reinforcement ratio of 1.03%, concrete covering of 2.5 cm, and average compressive strength of 412.9 kg/sq.cm. More shear reinforcements were provided in specimens in the second series to prevent the shear failure observed from the specimens in the first series. The test results showed that the compressive strength of concrete cylinder and load carrying capacity of beam specimens decreased as the fire duration increased. The repair method using CFRP sheets did not significantly increase the load carrying capacity of the beams because the plate debonding failure occurred. Because all specimens in the first series failed by shear mode, the ultimate load capacity could not be compared with results of 500 ºC isotherm model assumed flexural failure. For specimens in the second series, the ultimate load capacity values predicted by 500 ºC isotherm model was different from test results by 15.77 percent in average. Futhermore, midspan deflection at ultimate load by 500 ºC isotherm model was different from test result by 31.42 percent in average. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42608 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.84 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.84 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5370535621.pdf | 9.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.