Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42757
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ขบวนการและขบวนการโต้กลับ: กรณีศึกษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่ปี 2549-2553
Other Titles: INTERACTIONS BETWEEN STATE, MOVEMENT AND COUNTERMOVEMENT: THE CASE STUDY OF THE RED SHIRTS' POLITICAL MOVEMENT FROM 2006-2010
Authors: เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์
Advisors: ประภาส ปิ่นตบแต่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: prapart.p@chula.ac.th
Subjects: การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย
ความขัดแย้งทางการเมือง
Political participation -- Thailand
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ มีเป้าหมายเพื่อ สร้างคำอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง ในปัจจุบันของไทย อันเกิดขึ้นจากวิกฤติความขัดแย้ง ระหว่างขบวนการมวลชนเสื้อแดง รัฐ และขบวนการโต้กลับต่างๆ รวมถึงการสร้างตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับอธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงต่างๆดังกล่าว เพื่อค้นหากลไกและกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ขอบเขตการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้ อยู่ระหว่างปี 2549-2553 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กล่าวคือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาตีความ โทรเลขทางการทูตของสถานทูตอเมริกัน ประจำกรุงเทพฯ และสถานกงสุลอเมริกัน ประจำเชียงใหม่เป็นหลัก และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การเก็บข้อมูลสำรวจความคิดเห็นกลุ่มคนเสื้อแดง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบพหุ โดยใช้การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านภูมิหลังประชากร สามารถใช้อธิบาย การเข้าร่วมการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เพียงแค่ ร้อยละ 12 เท่านั้น โดยอิทธิพลส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ อายุ ภูมิลำเนา และเพศ แต่อายุของคนเสื้อแดง ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด ต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมือง เมื่อพิจารณากรอบการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงพลวัตในการระดม พบว่า การมองว่าตนเองไม่มีพวก/ไม่มีเส้นสาย และการเรียกร้องประชาธิปไตย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มโอกาสให้คนเสื้อแดง เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น เมื่อพิจารณากรอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนรูปแบบการต่อสู้ พบว่า ประเด็น “การกำจัดสองมาตรฐาน/อำมาตย์” และ “การเรียกร้องประชาธิปไตย” มีส่วนสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มคนเสื้อแดง และเมื่อพิจารณากรอบการวิเคราะห์วิถีโคจรของการปฏิวัติ พบว่า คนเสื้อแดงโดยทั่วไป มีความยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอย่างมาก และมองว่า ถึงแม้ว่าประชาธิปไตยจะมีปัญหามาก แต่ก็เป็นรูปแบบการปกครอง ที่ดีกว่ารูปแบบการปกครองอื่นๆ นอกจากนี้ โครงสร้างทางสังคมแบบดั้งเดิมและความไว้วางใจในหมู่ประชาชน ก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่สูง ดังนั้น ความไม่พอใจของคนเสื้อแดงเหล่านี้ จึงยังไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ พวกเขาตัดสินใจทิ้งระบอบเดิม และเข้าสู่สถานการณ์การปฏิวัติจริงๆ
Other Abstract: The purposes of this research are to explain the political phenomena of Thailand’s political crisis between the red shirts, Thai state and countermovements, to create the mathematical models for explaining the interactions between those political actors and to explore the mechanism and processes involving those interactions. This research’s time frame was between 2006 and 2010. There were two research methodologies used in this study. Firstly, the qualitative methodology was about interpreting the diplomatic cables from the U.S. Embassy Bangkok and the U.S. Consulate Chiang Mai. Secondly, the quantitative methodology was about collecting the questionnaires from the national survey of the red shirts. And then I have analyzed them with several statistic techniques i.e. Correlation Analysis, Multiple Linear Regression Analysis and Multiple Logistic Regression Analysis. These tests of hypotheses are at the statistical significance level 0.05. The research finding is the political participation of the red shirts movement can be explained by the demographic factors only 12 percent with age, area of birth place and gender. The Dynamic and Interactive Framework show that more the people don’t have patron-client networks and don’t satisfy undemocratic government, more the people participate in the red shirts’ movement. The Transformation of Contention Frameworks show that the political issues about “eliminating double standard and feudal figures” and “demanding democracy” originate the identities for the red shirts’ movement. And the Revolutionary Trajectories Frameworks show that the red shirts have commitments with democracy. They strongly agree with the statement “Democracy may have its problems, but it is better than any other form of government.” Moreover, the traditional social structure and the trust between Thai people have the very influence for the red shirts, so they will not be transformed to the revolutionary movement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42757
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.12
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.12
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5181516324.pdf15.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.