Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42810
Title: | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมต่อคุณภาพชีวิตของสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน |
Other Titles: | THE EFFECTS OF HOLISTIC HEALTH PROMOTION PROGRAM ON QUALITY OF LIFE IN PERI-AND POSTMENOPAUSAL WOMEN |
Authors: | กนิษฐ์ โง้วศิริ |
Advisors: | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ ประสงค์ ตันมหาสมุทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | sukonthasab@hotmail.com ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง คุณภาพชีวิต ผู้หญิงวัยทอง ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Self-care, Health Health promotion Quality of life |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมและการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน และศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นของกลุ่มทดลองต่อโปรแกรมที่สร้างขึ้น โดยโปรแกรมสร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีความเชื่อมั่นในความสามารถของตน และการสนับสนุนทางสังคม ได้กิจกรรม 10 กิจกรรม คือ การทบทวนตนเอง การเรียนรู้เรื่องวัยหมดประจำเดือน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ คู่หูดูแลกัน การเรียนรู้และฝึกการหายใจและทำสมาธิ การเรียนรู้เรื่องออกกำลังกายและฝึกฤาษีดัดตน การเรียนรู้เรื่องโภชนาการวัยทอง วางแผนและตั้งเป้าหมาย ประเมินผลการดูแลตนเอง และคู่หูต้นแบบ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.79 การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมใช้สตรีอายุ 45-59 ปี โดยเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน 2 แห่ง เป็นกลุ่มทดลอง 24 คน เข้าโปรแกรม 13 สัปดาห์และเข้ากลุ่มฝึกฤาษ๊ดัดตน(ตามแบบของวัดโพธิ์) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ฝึกเองที่บ้านสัปดาห์ละ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุม 26 คน ใช้ชีวิตตามปกติ เก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังสิ้นสุดการทดลองทันที (สัปดาห์ที่ 13) และหลังสิ้นสุดการทดลองแล้ว 4 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 17) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มด้วยค่า “ที” และภายในกลุ่มโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมที่สร้างขึ้นส่งผลให้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ โดยกลุ่มทดลองมีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมส่งสริมสุขภาพและมีการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น มีอาการของวัยหมดประจำเดือนลดลง มีน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และความดันโลหิตลดลง มีความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อกระดูก ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจากก่อนการทดลอง และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้นน้ำหนัก และดัชนีมวลกายที่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนไขมันและน้ำตาลในเลือดยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมระดับมากถึงมากที่สุด ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมที่สร้างขึ้นมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือนดีขึ้นได้ |
Other Abstract: | This study was to create and examine the effects of Holistic Health Promotion Program (HHPP) on quality of life (QOL) in peri-and postmenopausal women, and the experimental group’s satisfaction toward the program. Activity of the HHPP is based upon literature review, self efficacy theory and social support. The HHPP consisted of 10 intervention activities: recall self esteem; learning about menopause; deep breathing and meditation; exercise and Rusie Dutton (RD) practice of Wat Pho style; nutrition; group discussion; buddy; lifestyle modification plan; self assessment and good model. (IOC=0.79) The effectiveness of the HHPP was assessed using 50 women (aged 45-59) purposively recruited from 2 communities. They were allocated to the experimental group (n=24) attended the HHPP for 13 weeks and RD practice once a week in class and 2 days/wk. at home and the control group (n=26) received no intervention. Data were collected three times: before the experiment, after the experiment (wk.13) and follow-up 4 weeks (wk.17) and were analyzed by percentage, means, standard deviation, independent sample t-test and repeated measured ANOVA at the statistical significance level of 0.05. The results showed that self efficacy in promoting health behavior, promoting health behavior, menopause symptoms (using MENQOL questionnaire: Thai version), resting HR, BP, flexibility, VO2max and QOL (using WHOQOL-BREF-THAI questionnaire) of the experimental group were significantly different (p < .05) from those of the control group. Significant improvement was found in promoting health behavior, menopause symptoms, BW, BMI, resting HR, BP, flexibility, VO2max and QOL within group (p < .05) in the experimental group but lipid profiles and fasting blood sugar were unclear. The experimental group were extremely satisfied through the HHPP. The research finding indicated that the HHPP was effective for improving quality of life in peri and postmenopausal women. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42810 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.287 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.287 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5378950839.pdf | 16.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.