Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42813
Title: การยืนยันความชอบธรรมของรัฐบาลกับปัญหาเสียงข้างมากในทฤษฎีพันธสัญญาของจอห์น ล็อค
Other Titles: THE JUSTIFICATION OF GOVERNMENT AND THE PROBLEM OF MAJORITY IN JOHN LOCKE'S CONTRACT THEORY
Authors: กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์
Advisors: เกษม เพ็ญภินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: monsieurkasem@yahoo.com
Subjects: ความชอบธรรมของรัฐบาล
ฉันทานุมัติ
Legitimacy of governments
Consensus (Social sciences)
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จอห์น ล็อคได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งรัฐบาลอันชอบธรรมว่าต้องมาจากพันธสัญญาของสมาชิกของสังคมการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ล็อคไม่ได้เสนอว่าพันธสัญญาต้องเป็นฉันทามติของทุกคน เพียงแต่กล่าวถึงการยินยอมร่วมกันของสมาชิกในสังคมการเมือง และการตัดสินหรือวินิจฉัยในเรื่องต่างๆของรัฐบาลก็ต้องอาศัยมติของสมาชิกในสังคมการเมืองซึ่งได้มาตามเสียงข้างมากเป็นตัวชี้วัด จุดนี้เองทำให้อาจเกิดความเป็นไปได้ว่าการตัดสินด้วยเสียงข้างมากนั้นอาจมีโอกาสเกิดการละเมิดสิทธิธรรมชาติของเสียงข้างน้อยได้ เพื่อจะตอบปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้จึงได้มุ่งไปที่การทบทวนและวิเคราะห์การใช้เสียงข้างมากในการเป็นพื้นฐานรองรับความชอบธรรมของรัฐบาลตามกรอบคิดของล็อคว่าสามารถตอบโต้หรือหักล้างข้อโต้แย้งต่างๆที่กล่าวมาได้หรือไม่ อย่างไร ข้อเสนอของผู้วิจัยคือการเสนอให้ตีความปัจเจกบุคคลในสภาวะสังคม (social state) ว่าไม่ได้มีสถานภาพเป็น “ปัจเจกบุคคลบริสุทธิ์” หรือ “ปัจเจกบุคคลมูลฐาน” (atomic individual หรือ single individual) ซึ่งมีความอิสระเป็นเอกเทศหรือไม่ได้ตกอยู่ใต้อาณัติอำนาจจากผู้ใดเหมือนเมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ ซึ่งเดิมในสภาวะธรรมชาติพวกเขามีเสรีภาพโดยสมบูรณ์แต่ในสภาวะสังคมนั้นปัจเจกบุคคลมีสภาพเป็น “ปัจเจกบุคคลร่วม” (collective individual) ที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงร่วมของชุมชนในสังคมการเมือง สภาวะของปัจเจกบุคคลร่วมในสภาวะสังคมนี้ได้ทำให้พวกเขาต้องมีบทบาท หน้าที่ และสิทธิทางสังคมซึ่งเขาจำเป็นต้องยึดถือในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคมการเมืองนั้น ความเป็นปัจเจกบุคคลร่วมในสภาวะสังคมนี้ได้สร้างพันธะทางการเมืองต่อการเคารพและยอมรับสิทธิอำนาจของรัฐในฐานะที่พวกเขาได้ให้ความยินยอมร่วมกันในการกำเนิดสังคมการเมือง กระทั่งนำมาสู่พันธะทางการเมืองในการเคารพและยอมรับสิทธิอำนาจของรัฐบาลและสิทธิอำนาจของเสียงข้างมากด้วย ซึ่งคำอธิบายเช่นนี้สอดคล้องและไปด้วยกันได้กับคำอธิบายของล็อคเรื่องกายการเมืองซึ่งเขาใช้เป็นเหตุผลในการสนับสนุนความชอบธรรมทางการเมืองของเสียงข้างมากในการตัดสินใจปัญหาของรัฐ กล่าวโดยสรุปก็คือการทำความเข้าใจแนวคิดทางการเมืองของล็อคใน Two Treatises of Government นั้นต้องอาศัยแนวทางการตีความแบบ Collectivism ด้วยการมองให้เห็นถึงสถานภาพของปัจเจกบุคคลในสังคมการเมืองว่าเป็นปัจเจกบุคคลร่วม มิใช่ปัจเจกบุคคลบริสุทธ์หรือปัจเจกบุคคลมูลฐานที่โดดเดี่ยวและเป็นอิสระ ถึงแม้ว่าล็อคจะเริ่มต้นอธิบายแนวคิดทางการเมืองของเขาจากสภาวะธรรมชาติก็ตาม
Other Abstract: John Locke proposed the concept that the legitimated government should derived from a contract of member in political society. However, Locked did not proposed that the contract should be a consensus from all members. He mentioned that only consent from members would require in a political society and that any decision and judgment by the State should derived from consent of majorities in political society. This can lead to an objection that majority decision may violate minority’s natural rights. This thesis meant to investigate and analyze the use of majority decision by the state whether it can overcome this objection and how the state can achieve that. In this thesis, I proposed to have a view of individual in social state is not as “atomic individual” or “single individual” that is not being independent and subjected to govern by the state not being an individual under the state of nature, unlike, the individual which is born with perfect freedom. In a political society, individual is being seen as “collective individual” and is under a commitment of political community or society. By being “collective individual”, individual is assigned with roles, duties and social rights that individuals have to obey as a member of such political society. Individual in collective individual has created a “political obligations” to respect and obey the authority of the state as it is a form of collective consent. This in turn will give the beginning of political society and lead to political obligations to respect and obey the authority of the state and also the majority decision. This explanation coherent and compatible with the description of Locke’s in body politic that he uses in supporting the justification of majority decision by the state and the government. In summary, to understand Locke’s political theory in the “Two Treatises of Government” is through the interpretation of “Collectivism” by interpreting that the “individual” in Political society is as “collective individual” not as a separate and independent individual even though Locke has started of his political theory from state of nature.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42813
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.288
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.288
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380101522.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.