Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42830
Title: | เกมคือโลก โลกคือเกม: การช่วงชิงอำนาจในวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยแนวดิสโทเปีย |
Other Titles: | GAME AS WORLDS, THE WORLD AS A GAME: CONTESTING POWER IN CONTEMPORARY YOUNG-ADULT DYSTOPIAN LITERATURE |
Authors: | ภาณุมาศ อิสริยศไกร |
Advisors: | แพร จิตติพลังศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phrae.C@chula.ac.th |
Subjects: | วรรณกรรมดีสโทเปีย ทุนนิยม Dystopias in literature Capitalism |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการช่วงชิงอำนาจของเยาวชนในวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยแนวดิสโทเปียชุดไตรภาคเรื่อง ฮังเกอร์ เกมส์ (Hunger Games Trilogy) ของซูซานน์ คอลลินส์ (Suzanne Collins) และชุด ดิ อั๊กลี่ (The Uglies Series) ของสก็อตต์ เวสเตอร์เฟลด์ (Scott Westerfed) โดยใช้ทฤษฎีของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) มาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเยาวชนแนวดิสโทเปียมีลักษณะร่วมกันระหว่างแนวการประพันธ์วรรณกรรมสองแนวคือวรรณกรรมเยาวชนและวรรณกรรมแนวดิสโทเปียซึ่งมีจุดร่วมอยูที่การต่อต้าน วรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยแนวดิสโทเปียทั้งสองเรื่องจึงสะท้อนให้เห็นถึงการเสียดสีสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยมในปัจจุบันผ่านการต่อต้านและต่อรองของตัวละครเอกในวรรณกรรมดังกล่าว ผลการวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยแนวดิสโทเปียโดยใช้ทฤษฎีของปิแอร์ บูร์ดิเยอว่าด้วยเกมในฐานะสนามประลอง (Field) ซึ่งปัจเจกจะต้องช่วงชิงทุน (Capital) ประเภทต่าง ๆ และแนวคิดเรื่องฮาบิทัส (Habitus) ซึ่งปัจเจกใช้ในการต่อรองระหว่างโครงสร้างทางสังคมกับอัตลักษณ์ของปัจเจก โดยเฉพาะเยาวชนในวรรณกรรมเยาวชนแนวดิสโทเปียทั้งสองเรื่องเผยให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของเยาวชนให้เข้ากับภาวะของสังคมทุนนิยมยุคโลกาภิวัฒน์ |
Other Abstract: | This thesis is an attempt to explore and analyse the process of young-adult to contest the power in contemporary young-adult dystopian literature: Hunger Games Trilogy by Suzanne Collins and The Uglies Series by Scott Westerfeld. These two literary works are analysed with Pierre Bourdieu's theory. The research shows that young-adult dystopian literature shares the writing style characteristic between young-adult literature and dystopian literature as the resistance in these two selected literatures is alike. Moreover, they also reflect the consumerism in contemporary capitalist society through the resistance and the negotiation of their protagonists. The Pierre Bourdieu's theory in terms of game as field in which the agents have to struggle and accumulate the several kinds of Capital; and the concept of Habitus which the agents use to negotiate between the social structure and the agent's identity can be applied to analysed the young-adult dystopian literature. The analysis of the selected young-adult dystopian literature presents the class inequality, the contesting power, and the youth identity's transformation to the capitalist globalisation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วรรณคดีเปรียบเทียบ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42830 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.331 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.331 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5380204522.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.