Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42831
Title: | ปัญญาประดิษฐ์ในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณของทศวรรษ 1960 |
Other Titles: | ARTIFICIAL INTELLIGENCE IN SCIENCE FICTION AND THE SPIRIT OF THE 1960s |
Authors: | อรรถพล ปะมะโข |
Advisors: | สุรเดช โชติอุดมพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | suradech.c@chula.ac.th |
Subjects: | ปัญญาประดิษฐ์ ตัวละครในนวนิยาย นวนิยายวิทยาศาสตร์ Artificial intelligence Fictitious characters Science fiction |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของตัวละครปัญญาประดิษฐ์ในบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณของทศวรรษ 1960 ซึ่งหมายถึงการแสวงหาเสรีภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อปลดปล่อยมนุษย์และสร้างสังคมที่ดีขึ้น บทบาทเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายประการ อาทิ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ กระแสต่อต้านสงครามเวียดนาม การต่อต้านขีปนาวุธนิวเคลียร์ การเรียกร้องสิทธิของพลเมืองชั้นสองในสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่กระทบต่ออัตลักษณ์ความเป็นมนุษย์ จากการศึกษาพบว่าตัวละครปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้ประพันธ์ใช้ในการสะท้อนและประกอบสร้างจิตวิญญาณของทศวรรษ 1960 ในแง่ต่างๆ หากมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี ตัวละครปัญญาประดิษฐ์มักเป็นภาพแทนของเทคโนโลยีในทศวรรษ 1960 ซึ่งกระตุ้นอาการหวาดกลัวเทคโนโลยีและก่อให้เกิดความวิตกกังวลในสังคม แต่ก็มีบางส่วนที่ตัวละครปัญญาประดิษฐ์เป็นภาพแทนของเทคโนโลยีที่นำมนุษย์ไปสู่สังคมที่ดีกว่า ปัญญาประดิษฐ์ยังมีบทบาทในการเผยให้เห็นแนวคิดของการแสวงหาเสรีภาพทั้งภายนอกและภายใน หากมองด้านการแสวงหาเสรีภาพภายนอกจะพบว่า ตัวละครปัญญาประดิษฐ์ถูกนำเสนอเป็นอุปลักษณ์ในสามลักษณะ ลักษณะแรกคือ “อสูรกายจักรกล” เป็นอุปลักษณ์แทนความผิดพลาดของกลุ่มสถาบัน ลักษณะที่สองคือ “เมสสิยาห์จักรกล” เป็นอุปลักษณ์แทนผู้นำในการปลดปล่อยมนุษย์จากการกดขี่ของกลุ่มสถาบัน ลักษณะสุดท้ายคือ “จักรกลชนชั้นสอง” เป็นอุปลักษณ์ที่แสดงอคติในสังคมอเมริกันทั้งทางชาติพันธุ์และทางเพศ หากมองด้านการแสวงหาเสรีภาพภายในจะพบว่า ตัวละครปัญญาประดิษฐ์เป็นกลไกหนึ่งที่นำมนุษย์ไปสำรวจตนเองทั้งในแง่ของสภาวะทางจิตและอัตลักษณ์ความเป็นมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าตัวละครปัญญาประดิษฐ์มิได้เป็นเพียงแนวคิดทางเทคโนโลยีที่ผู้ประพันธ์จินตนาการขึ้นเพื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งของบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ แต่ตัวละครปัญญาประดิษฐ์ยังแฝงไปด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองและแนวคิดทางจิตวิญญาณหลายรูปแบบซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นจิตวิญญาณของทศวรรษ 1960 |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the roles of artificial intelligence characters in science fiction as related to the spirit of the 1960s, which means the pursuit for physical and spiritual freedom to liberate humanity and to create a better society. These roles are influenced by social and cultural changes, including political conflicts between countries, protesting against the Vietnam War, anti-nuclear weapons movement, civil rights movement by second-class citizens of society, and technological advancement which affects human identities. The study reveals that artificial intelligence characters are a significant device used by the authors to reflect and construct the spirit of the 1960s in various aspects. As for the relationship between humans and technology, most artificial intelligence characters are visual representations of various technologies in the 1960s, which provoke human technophobia and cause anxiety in society. However, there are also some artificial intelligence characters that represent the technology leading humanity toward a better society. Artificial intelligence also reveals the idea of both outer and inner freedom. As for the outer freedom, artificial intelligence characters are portrayed in three metaphors. The first metaphor is the “machine as a monster,” representing failures of the Establishment. The second is “machine as the Messiah,” which is a metaphor for the leader who will liberate humanity from the oppression of the Establishment. The third is “machine as second-class citizens,” which shows both ethnic and sexual prejudice in American society. As for the inner freedom, artificial intelligence characters are used as a tool by humans to explore themselves, both in terms of their mental state and identity. Artificial intelligence characters are not only technological concepts that the authors envision to be one element of science fiction, but they also reveal political ideology and spiritual concepts constructed as the spirit of the 1960s. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วรรณคดีเปรียบเทียบ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42831 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.332 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.332 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5380206822.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.