Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42934
Title: การวิเคราะห์รูปแบบการรุกทำทรัยของทีมนิวซีแลนด์กับทีมคู่แข่งขันในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเภท 7 คนชาย รายการฮ่องกงเซเว่นส์ ปี ค.ศ.2011
Other Titles: AN ANALYSIS OF PATTERNS IN OFFENSIVE TRY SCORING IN RUGBY MALE PLAYERS BETWEEN NEW ZEALAND TEAM AND THE OPPOSING TEAMS IN THE 2011 HONGKONG SEVENS
Authors: ชิดชนก อยู่ศรี
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: chuchchai.g@chula.ac.th
Subjects: รักบี้ -- การแข่งขัน
การแข่งขัน -- การวิเคราะห์
Rugby football -- Competition
Competition -- Analysis
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการรุกทำทรัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยที่ส่งผลให้การรุกได้ทรัย ของทีมนิวซีแลนด์กับทีมคู่แข่งขัน ในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเภท 7 คนชาย รายการฮ่องกงเซเว่นส์ ปี ค.ศ.2011 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ เทปบันทึกการแข่งรักบี้ฟุตบอลประเภท 7 คนชาย ของทีมนิวซีแลนด์กับทีมคู่แข่งขัน ได้แก่ ทีมเกาหลี ทีมโปรตุเกส ทีมฝรั่งเศส ทีมฟิจิและทีมอังกฤษ ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) นำมาทำการวิเคราะห์และบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมโฟกัสเอ็กซ์ทู (FocusX2 Version1.5) จากเกมการแข่งขัน จำนวน 6 เกม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่เป็นอิสระจากกัน (Independent sample t-test) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการรุกทำทรัยที่นิยมใช้มากที่สุดของทีมนิวซีแลนด์ คือ รูปแบบเบรคทรู (66.67%) รูปแบบการรุกทำทรัยที่ได้ทรัยมากที่สุดของทีมนิวซีแลนด์ คือ รูปแบบเบรคทรู (59.26%) รูปแบบการรุกทำทรัยที่นิยมใช้มากที่สุดของทีมคู่แข่งขัน คือ รูปแบบคิก (33.33%) รูปแบบการรุกทำทรัยที่ได้ทรัยมากที่สุดของทีมคู่แข่งขัน คือ รูปแบบเบรคทรู (44.44%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยที่ส่งผลให้การรุกได้ทรัยมากที่สุดของทีมนิวซีแลนด์ ได้แก่ ตำแหน่งผู้เล่นที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัย คือ ตำแหน่งสกรัมฮาล์ฟ (22.22%) เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัย คือ เทคนิครับ-ส่ง (51.85%) พื้นที่สุดท้ายที่เกิดการได้ทรัย คือ พื้นที่กลางเขตประตู (66.67%) และสถานการณ์เริ่มรูปแบบการรุกทำทรัย คือ สถานการณ์เปลี่ยนการครอบครองบอล (33.33%) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยที่ส่งผลให้การรุกได้ทรัยมากที่สุดของทีมคู่แข่งขัน ตำแหน่งผู้เล่นที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัย คือ ตำแหน่งวิงเกอร์ (33.33%) เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัย คือ เทคนิคหลบหลีก (77.78%) พื้นที่สุดท้ายที่เกิดการได้ทรัย คือ พื้นที่กลางเขตประตู (55.56%) สถานการณ์เริ่มรูปแบบการรุกทำทรัย คือ สถานการณ์กลุ่มยื้อแย่งรัค/กลุ่มยื้อแย่งโมลและการเล่นต่อเนื่อง (44.44%) 2. จากการเปรียบเทียบรูปแบบการรุกทำทรัยที่นิยมใช้ระหว่างทีมนิวซีแลนด์กับทีมคู่แข่งขันเป็นรายคู่ พบค่าเฉลี่ยรูปแบบการรุกทำทรัยที่นิยมใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คือ รูปแบบคิก โดยทีมคู่แข่งขันมีค่าเฉลี่ยของรูปแบบการรุกทำทรัยที่นิยมใช้มากกว่าทีมนิวซีแลนด์ การเปรียบเทียบรูปแบบการรุกทำทรัยที่ได้ทรัยระหว่างทีมนิวซีแลนด์กับทีมคู่แข่งขันเป็นรายคู่ พบค่าเฉลี่ยรูปแบบการรุกทำทรัยที่ได้ทรัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คือ รูปแบบเบรคทรู โดยทีมนิวซีแลนด์มีค่าเฉลี่ยของรูปแบบการรุกทำทรัยที่ได้ทรัยมากกว่าทีมคู่แข่งขัน ส่วนในด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยที่ส่งผลให้การรุกได้ทรัย พบว่า ตำแหน่งสกรัมฮาล์ฟของทีมนิวซีแลนด์ มีค่าเฉลี่ยของตำแหน่งผู้เล่นที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยมากกว่าทีมคู่แข่งขัน เทคนิครับ-ส่งของทีมนิวซีแลนด์ มีค่าเฉลี่ยของเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการรุกทำทรัยมากกว่าทีมคู่แข่งขัน พื้นที่กลางเขตประตูของทีมนิวซีแลนด์ มีค่าเฉลี่ยของพื้นที่สุดท้ายที่เกิดการได้ทรัยมากกว่าทีมคู่แข่งขัน
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze and compare the patterns in offensive try scoring as well as the factors involved with the patterns that affected the try scoring between New Zealand and the opposing teams in the 2011 Hongkong Sevens. The samples were match records of men rugby sevens competition between New Zealand and the opposing teams including of Korea, Portugal, France, Fiji, and England, using purposive sampling. All 6 matches were analyzed and recorded with Focus X2 Version 1.5 Program. Then, the obtained data was analyzed and compared by using descriptive statistics and Independent sample t-test, defining the significant difference at .05. Results 1. The pattern that was popularly used the most by New Zealand was Break-through (66.67%). The pattern that New Zealand team could score try the most was Break-through (59.26%). The pattern that was popularly used the most by the opposing teams was Kick (33.33%). The pattern that the opposing teams could score try the most was Break-through (44.44%). The factors involved with the pattern that effected score try the most for New Zealand were a player in try scoring which was Scrumhalf (22.22), a technique in try scoring which was Catching-Passing (51.85), the last area that try scoring occurred which was the middle, behind the post (66.67%) and a situation that started the patterns which was Turn over (33.33%). The factors involved with pattern that effected score try the most for the opposing teams were a player in try scoring which was Winger (33.33%), a technique in try scoring which was Evasion (77.78%), the last area that try scoring occurred which was the middle, behind the post (55.56%) and situations that started the patterns which were Ruck/Mual and Continued play (44.44%). 2. The comparison of pattern which was popularly used each match, found that an average of the pattern that had a significant difference at .05, was Kick. In average, the opposing teams had used more than New Zealand. And the comparison of patterns which could score try each match, found that the pattern which had a significant difference at .05, was Break-through and New Zealand has a higher average compared to the opposing teams. The factors involved with the patterns that effected score try of New Zealand when compared to opposing teams: Scrumhalf position that had a higher average in offensive try scoring, Catching-Passing technique of New Zealand that has a higher average in try scoring and the last try scoring area that was in the middle, behind the post had a higher.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42934
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.402
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.402
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478331439.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.